หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน

สิ่งแวดล้อม
26 ก.ค. 67
11:43
8,730
Logo Thai PBS
หลักฐานใหม่ DNA "ปลาหมอคางดำ" ระบาด "ไบโอไทย" อ้างมีแหล่งที่มาร่วมกัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไบโอไทย เปิดหลักฐานใหม่ เชื่อมโยงฟาร์มยี่สารของซีพี ศูนย์กลางการระบาด "ปลาหมอคางดำ"ทั่วประเทศ พบเส้นทางการแพร่ระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน ไม่ได้นำเข้าหลายครั้ง

วันนี้ (25 ก.ค.2567) ในเวทีเสวนาเรื่อง "หายนะสิ่งแวดล้อม กรณีปลาหมอคางดำ" นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เปิดหลักฐานใหม่กรณีปลาหมอคางดำระบาด โดยนำมาเผยแพร่ในเวทีเสวนา

ความสำคัญของหลักฐานใหม่

  • สังคมถูกทำให้เชื่อว่าปลา 2,000 ตัว ตายไปหมดภายใน 16 วัน และถูกฝังกลบไว้ที่ฟาร์มยี่สาร และสร้างตึกทับ
  • สังคมถูกทำให้เชื่อว่าซีพี ส่งตัวอย่างปลา 50 ตัว ให้กรมประมงแล้ว ตั้งแต่ ม.ค.2554 และกรมประมงถูกกดดันตกเป็นเป้าว่า ทำตัวอย่างปลาหาย
  • ไบโอไทย ก็ถูกทำให้เชื่อเช่นนั้น เมื่ออดีตพนักงานของฟาร์มยี่สารเริ่มต้นเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นในฟาร์มยี่สาร เพราะคำถามแรกของเรา คือพวกเขาฝังปลาไว้ที่ไหน?
  • ข้อมูลและภาพทั้งหมดที่ได้รับ ตอบคำถามได้ทั้งหมดว่าทำไมศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ จึงมาจากคลองที่ล้อมรอบ และผ่านกลางฟาร์มของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด

อ่านข่าว จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ฟาร์มยี่สาร ศูนย์กลางการระบาดของปลาหมอคางดำ

ข้อมูลต่อมาทำไมฟาร์มยี่สาร จึงเป็นศูนย์กลางการระบาด

  • ซีพีเอฟเป็นบริษัทเอกชนรายเดียวที่นำเข้าปลาหมอคางดำเมื่อปี 2553 จากใบขออนุญาต ทั้งหมด 448 รายการ (อนุญาต 381 รายการ /ไม่อนุญาต 60 รายการ /ชะลอนำเข้า 7 รายการ)
  • รายงานของกสม.ระบุชัดเจนว่า ซีพีละเมิดระเบียบความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • เอกสารรายงานของกรมประมง ระบุชัดเจนว่า เริ่มต้นจาก คลองดอนจั่น คลองหลวงคลองเจ๊ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลองตามน และคลองผีหลอก ในเขต ต.ยี่สาร และ ต.แพรกหนามแดง
หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หลักฐานใหม่ไบโอไทยนำมาเปิดข้อมูลในเวทีเสวนาครั้งนี้

หมายเหตุ ข้อมูลในประเทศไทย มีรายงานการนำเข้ามาตั้งแต่ ปี 2553 (ชัยวุฒิ สุดทองคง และคณะ,2017) พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอสีคางดำ ในคลองดอนจั่น คลองหลวง คลองเจ็ก คลองสมบูรณ์ คลองสะพานหัน คลอง
ตามน และคลองผีหลอก ใน ต.แพรกหนามแดง กับ ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ. สมุทรสาคร

อ่านข่าว "นาก" ไม่ใช่คำตอบปราบ "ปลาหมอคางดำ" ห่วงควบคุมยาก

และยังเข้าไปแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงปลา บ่อกุ้ง เกือบ 10,000 ไร่ สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น้ำ อีกทั้งยังส่งผลกระทบไปยังจังหวัดข้างเคียง อ.บ้านเหลม จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปลายน้ำที่คลอง

ส่วนรายงานการศึกษาการวิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของปลาหมอสีคางดำในเขตพื้นที่ชายฝั่งของไทย จากโครงสร้างพันธุกรรมของประชากร โดยพบว่า 

  • การระบาดมีแหล่งที่มาร่วมกัน
  • ไม่ได้นำเข้ามาหลายครั้ง 

ผลการศึกษาช่วยยืนยันที่มาของการแพร่ระบาด โดยข้อมูลระยะห่างทางพันธุศาสตร์ ลำดับความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ

ชี้ให้เห็นว่า ประชากรปลาหมอสีคางดำที่แพร่ระบาดในมีแหล่งที่มาร่วมกัน

ในประเทศไทยมีแหล่งที่มาร่วมกัน และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม haplotype อยู่ในระดับการเปลี่ยนแปลงเพียง 1-2 ลำดับเบสเท่านั้น (ภาพที่ 4) ซึ่งสามารถอธิบายความแตกต่างทางพันธุกรรมของประชากรแต่ละจังหวัดไว้ว่า เกิดจากกลไกของจีเนติกดริฟท์ หรือความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งเกิดจากปลาที่นำไปพื้นที่ใหม่มีจำนวนน้อย ขาดการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างประชากร มากกว่าเกิดจากการนำเข้าหลายครั้ง

อ่านข่าว :

อนุกมธ.เปิดเอกสารซีพีเอฟ ระบุชื่อ 2 ขรก.รับซาก "ปลาหมอคางดำ" ปี 2551

จ่อฟ้องแพ่งค่าเสียหายคดี สวล."ปลาหมอคางดำ"

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง