สงครามเมียนมา สะเทือนไทย ตอน แรงงานเมียนมาทะลักไทย

ภูมิภาค
14 ก.ค. 67
17:37
6,793
Logo Thai PBS
สงครามเมียนมา สะเทือนไทย ตอน แรงงานเมียนมาทะลักไทย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อนาคตแรงงานเมียนมาในประเทศไทย โอกาส เเละความยากลำบากในการดำเนินชีวิต

แรงงานเมียนมาเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในภาคการเกษตร การก่อสร้าง การผลิตสินค้า แต่ด้วยจำนวนแรงงานเมียนมาที่เข้ามาทำงานในไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเด็นนี้กลายมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจอีกครั้ง หลังจากที่เกิดการรัฐประหารในประเทศเมียนมา ในปี 2021 

โอกาสของแรงงานชาวเมียนมาในประเทศไทย

หากลองมองลึกเข้าไปในด้านของโอกาสในการทำงานของเเรงงานชาวเมียนมานั้น ไม่ได้มีตัวเลือกมากนัก แรงงานชาวเมียนมาส่วนมาก มักจะประกอบอาชีพในด้าน เเรงงานภาคการเกษตร เเรงงานภาคก่อสร้าง เเละเเรงงานในโรงงานผลิตสินค้า แต่ปัจจุบัน การเเข่งขันในตลาดเเรงงานเริ่มเพิ่มสูงขึ้น พร้อมกับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เริ่มมีการนำเอาเเรงงานข้ามชาติมาพัฒนาทักษะในการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น โดยองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ได้ดำเนินการฝึกอบรมทักษะใหม่เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมกับทักษะการเข้าสังคมเพื่อช่วยความสามารถในการทำงานในสังคมที่ต่างจากถิ่นฐานของเเรงงานข้ามชาติ

ความท้าทายและความยากลำบากในการดำเนินชีวิตของเเรงงานข้ามชาติ

สภาพแวดล้อมในการทำงานและสิทธิแรงงานคือสองปัญหาอันดับต้น ๆ จากการสำรวจ แรงงานเมียนมาในประเทศไทยสะท้อนว่า เผชิญกับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี ทั้งในเรื่องของค่าจ้างที่โดนนายจ้างเอาเปรียบ เเละกดค่าเเรงที่ต่ำกว่าค่าครองชีพ เอาเปรียบชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน และสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย นอกจากนี้ แรงงานเมียนมายังมีสิทธิ์ได้รับการคุ้มครองทางกฎหมายไม่เท่าเทียมกับแรงงานไทย ส่งผลให้พวกเขาต้องเผชิญกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการขูดรีดจากนายจ้าง

นอกจากปัญหาด้านสภาพเเวดล้อม เเละสิทธิเเรงงาน การเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษาของลูกหลานเเรงงานข้ามชาติ ก็เป็นอีกปัญหาความเหลื่อมล้ำ ที่มักพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งความยากลำบากในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการศึกษา เนื่องจากข้อจำกัดทางภาษาและการขาดข้อมูล ทำให้พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นได้อย่างเต็มที่

อนาคตของแรงงานเมียนมาในประเทศไทย ยังคงเป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ความท้าทายที่แรงงานเมียนมาต้องเผชิญไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อชีวิต แต่ยังมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยโดยรวมด้วย ในทางกลับกัน โอกาสในการพัฒนาแรงงานเมียนมายังมีมากมาย ทั้งในด้านการพัฒนาทักษะ ความร่วมมือระหว่างประเทศ และการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการแรงงาน การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาแนวทางการจัดการแรงงานที่ยั่งยืนและเป็นธรรมจะเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับแรงงานเมียนมาในประเทศไทย

ข้อมูลสัดส่วนแรงงานข้ามชาติ

นอกเหนือจากเเรงงานชาวเมียนมาเเล้ว ยังมีเเรงงานข้ามชาติจากประเทศอะไร ที่เข้ามาทำงานที่ประเทศไทยบ้าง ซึ่งสัดส่วนที่ยกมานี้ จะเรียงลำดับกลุ่มเเรงงานข้ามชาติที่เข้ามายังเป็นเทศไทยมากที่สุด ซึ่งแรงงานข้ามชาติ ก็นับเป็นกลุ่มแรงงานที่มีบทบาทสำคัญในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม การก่อสร้าง และอุตสาหกรรมการผลิต

อับดับที่ 1. แรงงานเมียนมา
แรงงานเมียนมาเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ทำงานในภาคการก่อสร้าง การเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิต ในบางกรณี อาจมีแรงงานเมียนมาทำงานในภาคบริการและการดูแลสุขภาพ

อันดับที่ 2. แรงงานลาวและกัมพูชา
แรงงานจากลาวและกัมพูชามักทำงานในภาคการเกษตร การก่อสร้าง และการประมง เนื่องจากมีพรมแดนติดกับประเทศไทย ทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศง่ายขึ้น

อันดับที่ 3. แรงงานเวียดนาม
แรงงานเวียดนามมักทำงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการก่อสร้าง แม้จำนวนแรงงานเวียดนามจะน้อยกว่าแรงงานเมียนมา ลาว และกัมพูชา แต่พวกเขายังคงเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญในเศรษฐกิจไทย

อันดับที่ 4. แรงงานจากประเทศอื่น ๆ
นอกจากนี้ ยังมีแรงงานข้ามชาติจากประเทศอื่นๆ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และอินเดีย ที่ทำงานในภาคบริการและการจัดการ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้มักมีทักษะและการศึกษาในระดับสูงกว่าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

สัดส่วนตามประเภทงาน

แรงงานข้ามชาติมากกว่า 50% เลือกประกอบอาชีพเเรงงานเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรม กสิกรรม รวมไปถึงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการเกษตร

แรงงานข้ามชาติกว่า 40% โดยเฉพาะแรงงานเมียนมาและกัมพูชา จะนิยมประกอบอาชีพเกี่ยวกับการก่อสร้าง เนื่องจากมีประสบการณ์ในงานก่อสร้าง เเละประสบการณ์

แรงงานข้ามชาติกว่า 30% เป็นเเรงงานกลุ่มอุตสาหกรรมในโรงงานผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค เช่น เสื้อผ้า อาหาร และอิเล็กทรอนิกส์

(อ้างอิงจากสำนักบริหารเเรงงานต่างด้าว)

รายงาน:ทีมศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ติดตามตอนอื่น :
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341037
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341334
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341061
https://www.thaipbs.or.th/news/content/340824
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341289
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341316
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341774
https://www.thaipbs.or.th/news/content/341777
https://fb.watch/tb2HUjHqfN/
https://fb.watch/tb2x0fv5PX/

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง