"ขอนแก่น" ผวาหลุมยุบลึก 15 ม. นักธรณีวิทยา คาดน้ำใต้ดินแห้ง

ภัยพิบัติ
5 ก.ค. 67
16:30
1,483
Logo Thai PBS
"ขอนแก่น" ผวาหลุมยุบลึก 15 ม. นักธรณีวิทยา คาดน้ำใต้ดินแห้ง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรธรณี เตือนหลุมยุบกว้าง 10 เมตรลึก 15 เมตรกลางไร่อ้อยใน อ.นากลาง จ.ขอนแก่น แนะอย่าเข้าใกล้ห้ามทิ้งขยะของเสีย เสี่ยงปนเปื้อนสู่น้ำใต้ดิน ชี้เคยเกิดมาแล้วปี 2559 และปี 2564 เกิดจากระดับน้ำใต้ดินลดฮวบช่วงแล้ง

วันนี้ (5 ก.ค.2567) กรณีเกิดหลุมยุบขนาดใหญ่บริเวณกลางไร่อ้อย หมู่บ้านศรีสังวาลย์ หมู่ 1 ต.ด่านช้าง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู  เจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพยากรธรณี เขต 2 จ.ขอนแก่น ตรวจสอบพบหลุมยุบมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เมตร ลึก 15 เมตร 

โดยได้ประสานและให้คำแนะนำเบื้องต้น กับประชาชนในพื้นที่ โดยให้กั้นแนวเขตล้อมรั้ว และติดป้ายเตือนเพื่อป้องกันอันตราย รวมทั้งห้ามทิ้งขยะ ของเสีย หรือสารพิษลงในหลุม ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดินและแหล่งน้ำธรรมชาติ

สาเหตุหลุมยุบดังกล่าว เกิดจากลักษณะธรณีวิทยา พบเป็นตะกอนชนิดหินปูน อายุเพอร์เมียน (อายุมากกว่า 250 ล้านปี) หินปูนที่พบมีรอยแตกจำนวนมาก บริเวณที่พบหลุมยุบเป็นพื้นที่เกษตรกรรม

อ่านข่าว เปิดแผนที่ 49 จังหวัดเสี่ยง "หลุมยุบ"

ระดับน้ำใต้ดินแห้ง-พบเกิดช่วงปลายร้อนเข้าหน้าฝน

ในเบื้องต้นข้อมูลผลการตรวจสอบ และพูดคุยกับชาวบ้าน พบว่าในพื้นที่ได้มีการเกิดหลุมยุบในบริเวณอื่นๆ มาตั้งแต่ปี 2559 และล่าสุดในปี 2564 โดยจะเกิดหลุมยุบในช่วงปลายฤดูร้อน เข้าต้นฤดูฝน ซึ่งเกิดหลังจากที่มีฝนตกหนักในพื้นที่

การเกิดสันนิษฐานว่าระดับน้ำใต้ดิน ที่อยู่ตามรอยแตก หรือโพรงของหินปูนลดระดับลงมากในช่วงฤดูแล้ง และเมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำมาก น้ำก็ไหลลงไปด้านล่าง และนำตะกอนดินที่ปิดทับด้านบนไหลไปกับน้ำลงไปตามรอยแตกของหินด้วย ทำให้เกิดสภาพเป็นหลุมยุบเกิดขึ้น

อ่านข่าว ผวาหลุมยุบ จ.พิษณุโลก นักธรณีวิทยา คาดน้ำใต้ดินแห้ง

คาดชั้นน้ำใต้ดินแห้ง โพรงของหินปูนลดระดับลงมากในช่วงฤดูแล้ง เมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำมาก น้ำไหลลงด้านล่าง นำตะกอนดินที่ปิดทับด้านบนไหลไปกับน้ำลงไปตามรอยแตกของหินด้วย ทำให้เกิดสภาพเป็นหลุมยุบเกิดขึ้น

คาดชั้นน้ำใต้ดินแห้ง โพรงของหินปูนลดระดับลงมากในช่วงฤดูแล้ง เมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำมาก น้ำไหลลงด้านล่าง นำตะกอนดินที่ปิดทับด้านบนไหลไปกับน้ำลงไปตามรอยแตกของหินด้วย ทำให้เกิดสภาพเป็นหลุมยุบเกิดขึ้น

คาดชั้นน้ำใต้ดินแห้ง โพรงของหินปูนลดระดับลงมากในช่วงฤดูแล้ง เมื่อฝนตกหนักปริมาณน้ำมาก น้ำไหลลงด้านล่าง นำตะกอนดินที่ปิดทับด้านบนไหลไปกับน้ำลงไปตามรอยแตกของหินด้วย ทำให้เกิดสภาพเป็นหลุมยุบเกิดขึ้น

เจอ "หลุมยุบ' ทำอย่างไร?

ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า หลุมยุบ เป็นหลุม หรือแอ่งบนแผ่นดินที่ปากหลุมมีลักษณะเกือบจะกลม เกิดจากการที่ใต้พื้นที่แห่งนั้นที่เป็น หินยิปซัม หินปูน หินไดโลไมต์ และถูกน้ำละลาย พื้นที่ด้านบนจึงยุบลงกลายเป็นหลุม

ข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ

  • พบดินทรุดหรือยุบตัว ทำให้กำแพง รั้ว เสาบ้าน ต้นไม้ โผล่สูงขึ้น
  • มีการเคลื่อน/ทรุดของกำแพง รั้ว เสา บ้าน ต้นไม้ ประตู/หน้าต่างเบี้ยวทำให้ปิดยาก
  • พืชพรรณเหี่ยวเฉาเป็นบริเวณแคบๆ เนื่องจากสูญเสียความชื้นของชั้นดินลงไปในโพรงใต้ดิน
  • น้ำในบ่อ สระ ขุ่นหรือเป็นสีโคลน
  • อาคารทรุด มีรอยปริบนกำแพง

ข้อปฏิบัติเมื่อพบสิ่งที่บ่งบอกหลุมยุบ

  • เมื่อได้ยินเสียงดัง (จากข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ) ให้รีบออกจากบริเวณนั้น ถ้าอยู่ในเขตบ้านเรื่อนให้อพยพจากจุดนั้น 100 เมตร
  •  แจ้งผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เจ้าหน้าที่ เพื่อกั้นเขต
  • สังเกตขนาดเบื้องต้น อาทอ ถ้าเป็นวงกลม/วงรี ให้กันแนวห้ามเข้าใกล้ 10-15 เมตร จากบริเวณนั้น แต่ถ้าเจอเป็นแนวยาวให้กั้นแนวห้ามเข้าบริเวณปลายทั้งสองด้านเพิ่มกว่าปกติ เนื่องจากการขยายตัวของหลุมจะอยู่ในแนวยาว
  • ทำรั้วกั้นรอบทิศให้มองเป็นอย่างชัดเจนในระยะ 50 เมตร
  • ไม่ควรเข้าใกล้พื้นที่ดังกล่าว เพราะหลังจากพบข้อสังเกตก่อนเกิดหลุมยุบ อาจจะเกิดหลุมยุบภายในเวลาไม่กี่นาที และอาจขยายขนาดเพิ่มในไม่กี่วัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง