TTB ชี้ ต่างชาติถือครองห้องชุด 75% รัฐต้องรัดกุม หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย

เศรษฐกิจ
27 มิ.ย. 67
17:58
231
Logo Thai PBS
TTB ชี้ ต่างชาติถือครองห้องชุด 75% รัฐต้องรัดกุม หวั่นได้ไม่คุ้มเสีย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
TTB analytics ชี้มาตรการให้ต่างชาติถือครองห้องชุดเพิ่ม 75% ต้องรัดกุม เสี่ยงได้ไม่คุ้มเสีย หวั่นกระทบธุรกิจเกี่ยวข้อง-คนรุ่นหลัง ย้ำรัฐต้องชัดเจน ด้าน REIC เผยไตรมาส 1/67 ต่างชาติซื้อห้องชุดเพิ่ม 4.3% จีน นำโด่ง เมียนมา แห่ซื้อพุ่ง 415 %

วันนี้ (27 มิ.ย.2567 ) ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี หรือ ttb analytics ทำการวิเคราะห์ถึง มาตรการขยายการถือครองอาคารชุดของชาวต่างชาติเป็น 75% ว่า หากรัฐบาลไม่รัดกุมผลที่ตามมาจะเป็นคลื่นที่ไม่รู้จบ (Unceasing Waves) ทั้งราคาที่ปรับเพิ่มสูงกว่ากำลังซื้อของคนในประเทศ ซึ่งภายใต้แรงกดดันที่ถาโถมในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัยทั้งจากอุปสงส์ที่แรงซื้อลดลงจาก คนซื้อน้อยลง การเข้าถึงสินเชื่อที่ยากขึ้น และคนรุ่นใหม่ปราศจากเงินออมในจำนวนที่เพียงพอ

ประกอบกับอุปทานไม่สามารถทำการตลาดเพื่อช่วยให้รองรับการอ่อนตัวของความต้องการที่ต้นทุนก่อสร้างแพงขึ้น ระยะเวลาขายที่ช้าลง และราคาที่ไม่สามารถลดได้เพื่อรักษาภาพลักษณ์การเป็นสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ กดดันให้ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวหนักกว่าที่เคยคาดไว้

โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ประเมินว่า ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2567 หดตัว13.6% มีจำนวนหน่วยโอนอยู่ที่ 3.17 แสนหน่วย ในขณะที่มูลค่าโอนหดตัวถึง 15.9% เหลืออยู่ที่ 8.8 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ประเด็นที่น่ากังวลเป็นพิเศษในปี 2567 ต่อเนื่องถึงปี 2568 นอกจากเผชิญแรงกดดันจากโครงสร้างทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทานที่กระทบต่ออุปสงค์จริง (Real Demand) ในช่วงที่ผ่านมาตลาดอาคารชุดยังประสบปัญหาเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุน

โดยเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่คิดเป็นสัดส่วนราว 77% ของตลาดอาคารชุดทั่วประเทศ ที่ราคาหน่วยโอนในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2561-2566) ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 1.7% ส่งผลต่อโมเมนตัมของอุปสงค์การซื้อเพื่อลงทุน (Speculative Demand) ลดน้อยลง เป็นเหตุให้ภาครัฐมีนโยบายเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

โดยเฉพาะในกลุ่มอาคารชุดที่มีการปรับกฎเกณฑ์ด้านสัดส่วนการถือครองที่ง่ายกว่าแนวราบจากประเด็นกรรมสิทธิ์ โดยจะมีการขยายสัดส่วนการถือครองอาคารชุดของชาวต่างชาติจากเดิมไม่เกิน 49% ให้เพิ่มเป็น 75% ซึ่งในมุมมองของ ttb analytics เห็นว่านโยบายจำเป็นต้องรัดกุม หากไม่มีความรัดกุมอาจจะทำให้ผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มสิ่งที่ต้องเสีย

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC ) กล่าวว่า การเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2565 ได้สร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมากต่อการขยายตัวของนักท่องเที่ยวและรัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นเครื่องยนต์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างจริงจัง

ประกอบกับปัจจัยภายในประเทศ ได้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความต้องการซื้อห้องชุดจากชาวต่างชาติให้เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและมูลค่าของการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติ โดยได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2561-2562

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์

โดยการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติทั่วประเทศในไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติ 3,938 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 และมีมูลค่ารวมของการโอนกรรมสิทธิ์ 18,013 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 โดยเป็นพื้นที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้ชาวต่างชาติทั่วประเทศจำนวน 173,007 ตารางเมตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

พื้นที่ห้องชุดที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.1 จาก 19.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นไตรมาสที่มีสัดส่วนที่สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2561 จังหวัดที่มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้คนต่างชาติมากสุด ชลบุรี และกรุงเทพฯ 

โดยสัญชาติของกลุ่มผู้ที่รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดสูงสุด 3 สัญชาติในไตรมาส 1 ปี 2567 คือ ชาวจีน ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ 1,596 หน่วย มูลค่า 7,570 ล้านบาท รองลงมาเป็น ชาวเมียนมา จำนวน 392 หน่วย มูลค่า 2,207 ล้านบาท และ คือ ชาวรัสเซีย จำนวน 295 หน่วยมูลค่า 924 ล้านบาท

ชาวพม่าเป็นสัญชาติที่มีจำนวนหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 415.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขยับลำดับขึ้นอย่างรวดเร็ว จากลำดับที่ 25 ในปี 2564 เป็นลำดับที่ 6 ในปี 2565 และ เป็นลำดับที่ 4 ในปี 2566 โดยล่าสุดขึ้นมาเป็นลำดับ 2 ในไตรมาส 1 ปี 2567

อ่านข่าว:

เศรษฐกิจไทย พ.ค.ยังไม่ฟื้น คลังชี้ "ลงทุนภาคเอกชน-กำลังซื้อชะลอ"

เปิด 10 ธุรกิจรายได้สูง 3 ลำดับแรก "พลังงาน ยานยนต์ แบงก์"

"มันสำปะหลัง" ส่อสะเทือน สนค.เผยจีนรุกผลิตข้าวโพด GMO

ข่าวที่เกี่ยวข้อง