ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมทรัพยากรธรณี เฉลยให้ "เมล็ดข้าวประหลาดในหิน" คืออะไร

สิ่งแวดล้อม
26 พ.ค. 67
18:03
4,163
Logo Thai PBS
กรมทรัพยากรธรณี เฉลยให้ "เมล็ดข้าวประหลาดในหิน" คืออะไร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรธรณี เฉลยให้ "เมล็ดข้าวประหลาดในหิน" คืออะไร ชี้อายุเก่าแก่ 359-252 ล้านปี

กรณีโลกโซเชียลฯมีการเผยแพร่ภาพก้อนหินประหลาด ลักษณะคล้าย "ฟอสซิลเมล็ดข้าวสาร" จำนวนมากฝังตัวอยู่ในหิน แต่เมื่อนำมาผ่าเจียระไนดูคล้าย "เมล็ดข้าวสุก" ที่ฝังตัวอยู่ในหินสีดำ และสีน้ำตาล ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์หายากของ จ.สุโขทัย เกิดจากอำนาจวาจาสิทธิ์ของพระร่วง 

เรื่องนี้ กรมทรัพยากรธรณี โดยกองคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์  ได้ออกมาให้ข้อมูลและอธิบายว่า ก้อนหินที่ปรากฏในข่าวนั้น เป็นซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง "ฟอแรมมินิเฟอรา (Foraminifera)" ที่สามารถมองเห็นโครงร่างขนาดเล็กภายในหินได้ด้วยตาเปล่า

เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เมื่อสิ้น สุดยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 252 ล้านปีก่อน) จัดอยู่ในอันดับฟิวซูลินิดา (Order Fusulinida) มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า "ฟิวซูลินิด (Fusulinids)"

ส่วนใหญ่มีขนาดมากกว่า 2 มิลลิเมตร บางชนิดมีความยาวมากถึง 5 เซนติเมตร ลักษณะรูปร่างเป็นทรงรี คล้ายเม็ดข้าวสาร ทำให้ถูกเรียกว่า "ข้าวสารหิน" หรือ "คตข้าวสาร" มักพบตามภูเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 299 -252 ล้านปี) ซึ่งกระจายตัวอยู่หลายแห่งทั่วประเทศไทย

โดยฟิวซูลินิดมีช่วงเวลาการกระจายตัวและอาศัยในมหาสมุทรโบราณทั่วโลก ตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนกลาง - ยุคเพอร์เมียน (ประมาณ 359 - 252 ล้านปี) หากจะระบุชนิดจำเป็นต้องทำแผ่นหินบางแล้วนำมาศึกษาโครงสร้างภายในอย่างละเอียดภายใต้กล้องจุลทรรศน์

ขณะที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นนี้เช่นกัน "มันไม่ใช่ ข้าวสารกลายเป็นหิน .. แต่เป็นฟอสซิล ไม่ได้หายากอะไร" พร้อมอธิบายข้อความส่วนหนึ่งว่า 

เจ้าพวกนี้ ไม่ใช่ฟอสซิลของ "ข้าวสารกลายเป็นหิน" อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นของสัตว์เซลล์เดียว อยู่ในทะเล มีชื่อว่า ฟิวซูลินิด เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน แล้วพอตายลงสู่ก้นทะเลไป ก็เปลี่ยนสภาพมาเป็นฟอสซิลแบบนี้  อยู่ในชั้นหินปูนยุคเพอร์เมียน

แต่ด้วยความที่มีลักษณะยาว หัวท้ายแหลม รูปร่างและขนาดคล้ายเม็ดข้าวสาร และก็มีบางคนเอาไปกราบไหว้บูชา ปนกับตำนวนพระร่วง สร้างศรัทธากันใหญ่

คตข้าวสารแบบนี้ ยังสามารถพบได้อีกหลายแห่งที่เป็นภูเขาและถ้ำหินปูนโบราณ เช่น ถ้ำใหญ่น้ำหนาว บ้านยางจ่า ตำบลภูน้ำหยด อำเภอวิเชียรบุรี และบ้านซับชมภู ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่

อ่านข่าว "ข้าวไทย" ค้างโกดัง 10 ปี ส่งออกความกังวลสู่ "ไนจีเรีย"

กกต.สรุป 20 กลุ่มอาชีพ "ผู้สมัคร สว." พบ "ผู้สูงอายุ-คนพิการ" มากสุด 5,211 คน

ชี้พิกัดที่ไหนจัดงานฉลอง "Pride Month 2024" เดือน มิถุนายน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง