วันนี้ (19 มี.ค.2567) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ เปิดเผยว่า ช่วงไตรมาส 1/67 เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในภาวะซบเซา คาดว่าจะขยายตัวได้ร้อยละ 2 มีเพียงภาคการผลิต การส่งออก และนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจฯ
ส่วนไตรมาส 2/67 เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว อยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากผลของการเริ่มต้นเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 67 รวมทั้งยังมีแรงส่งจากภาคการผลิต การส่งออก และนักท่องเที่ยวต่างชาติ
นายธนวรรธน์ กล่าวอีกว่า เศรษฐกิจมีสัญญานฟื้นตัวแต่เป็นการฟื้นตัวแบบเปราะบาง เป็นการขยายตัวแบบกระจุกบางสาขาไม่กระจาย เช่น ส่งออกในกลุ่มผลไม้ สินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา และการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดี ซึ่งเศรษฐกิจยังฟื้นแบบค่อยๆ
ไทยยังมีปัญหาซ้อนไปซ้อนมา รายได้ของประชาชนหายไปจากปัญหาโควิดแพร่ระบาด และยังเจอปัญหาเรื่องสงครามระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ยที่สูง แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะกลับมาแต่ก็ยังไม่ฟื้นตัวมาก งบแผ่นดินยังไม่ถูกนำมาใช้กระตุ้นอย่างเต็มที

นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าว ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯยังประเมินว่า ในปี 67 การส่งออก จะขยายตัวร้อยละ 2.8 จากเดิมร้อยละ 3.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 1จากเดิมร้อยละ 2.0 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 35 ล้านคน, รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1.61 ล้านล้านบาท จากเดิม 1.48 ล้านล้านบาท
ทั้งนี้ ในช่วง ขณะที่ไตรมาส 3/67 เศรษฐกิจไทยเริ่มขยายตัวได้ชัดเจนขึ้น คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งเป็นผลจากการที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย การเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี 67 และการฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการผลิต/การส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
นายวิเชียร แก้วสมบัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ส่วนไตรมาส 4/67 เศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวได้ร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ได้กดดันให้ยอดหนี้เสียมีปริมาณเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อ
คาดว่าครึ่งปีแรก GDP จะขยายตัวได้ร้อยละ 2.3 ส่วนครึ่งปีหลัง ขยายตัวได้ร้อยละ 2.9 เมื่อเฉลี่ยทั้งปีแล้ว จะขยายตัวได้ร้อยละ 2.6%

สำหรับปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ได้แก่ ภาคการผลิต ที่มีแนวโน้มจะสะสมสินค้าคงคลังเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออก ยังเป็น Key Driver ที่ช่วยประคองและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม ทางเลือกที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้มากกว่า ร้อยละ 3 คือ การเร่งรัดเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำ และเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุน ซึ่งรัฐบาลสามารถตัดสินใจทำได้ทันที หาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย มีผลบังคับใช้ เพราะทุกๆ 10,000 ล้านบาท ของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของรัฐบาลจะมีผลให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.52 และร้อยละ0.68

รวมถึงมาตรการการคลังผ่านเงินโอน เช่น โครงการดิจิทัลวอยเล็ต ซึ่งหากทำได้ทันทีจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในวงกว้างได้ในระยะสั้นๆ เพราะหากรัฐบาลต้องการให้เกิดผลกระทบในวงกว้างจำเป็นต้องใช้วงเงินในขนาดที่ค่อนข้างสูง และมีกระบวนการทางกฎหมายหลายขั้นตอนทำให้ต้องใช้เวลาในการอนุมัติค่อนข้างนานหากทำได้ตามกรอบ จะช่วยให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.26
รัฐบาลต้องทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวให้ได้เกินร้อยละ 3 จากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ เกิดการหมุนเวียดของระบบเศรษฐกิจไทย
นอกจากนี้ มาตรการฟรีวีซาทั้งชั่วคราวและถาวร หากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุก ๆ 1 ล้านคนจะทำให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.56 และหากรัฐบาลเร่งรัดการส่งออก ทุก ๆ 10,000 ล้านบาทของราได้จากการส่งออกสินค้าที่เพิ่มขึ้น จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.60 และหากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงทุก ๆ ร้อยละ 0.25 ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ปรับลดลงจะทำให้ GDPไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12
อ่านข่าวอื่นๆ:
สรรพากรแจงคืนภาษีช้า "ติดคอขวด-พบทุจริต"
แห่ลงทะเบียน รัฐช่วยลด "ค่าไฟ-น้ำ" ยืนยันตัวตนทะลุ 13.8 ล้านคน