วันนี้ (14 มี.ค.2567) เครือข่ายเยาวชนและชุมชนในลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน ร่วมกันปล่อยแพโดยมีข้อความว่า “No Dam" ในแม่น้ำสาละวิน ที่บ้านท่าตาฝั่ง ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนเพื่อเป็นสัญลักษณ์ความเป็นอิสระของสายน้ำที่ไม่มีอะไรขวางกั้น
ภาคประชาชน ร่วมกันปล่อยแพโดยมีข้อความว่า “No Dam
เครือข่ายฯ และชุมชน ยังมีการอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืน เช่น ยุติโครงการสร้างเขื่อนเพื่อให้น้ำไหลอิสระให้ยุติโครงการพัฒนาของรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อชุมชน เช่น โครงการผันน้ำยวม
อ่านข่าว : ผุดเขื่อนปิดโขง จี้ตรวจสอบ “เขื่อนปากแบง” สำรวจไม่เสร็จ แต่เซ็นสัญญาสร้างแล้ว
ภาคประชาชนออกมาเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืนคัดค้านการสร้างเขื่อน ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ
นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจากชาวบ้านใน อ.แม่ลาน้อย ได้ยื่นหนังสือกับนางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีข้อกังวลในผลกระทบการขอสัมปทานเหมืองแร่ด้วย
ตัวแทนจากชาวบ้านใน อ.แม่ลาน้อย ได้ยื่นหนังสือกับนางปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีข้อกังวลในผลกระทบการขอสัมปทานเหมืองแร่
ด้านตัวแทนฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ ย้ำว่า ที่ผ่านมาผลกระทบการสร้างเขื่อนในแม่น้ำโขง 12 เขื่อน เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนผลกระทบที่เกิดขึ้นคนลุ่มน้ำ เช่น ตะกอนแม่น้ำ ปลาในแม่น้ำ
อ่านข่าว : ภาคประชาชนฟ้อง "โครงการผันน้ำยวม" ขาดการมีส่วนร่วม
ภาคประชาชนออกมาเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืนคัดค้านการสร้างเขื่อน ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ
ขณะเดียวกันแม่น้ำสาละวิน เป็นแม่น้ำขนาดใหญ่สายเดียวไม่กี่สายในโลกที่ยังไม่มีการสร้างเขื่อน แม้จะมีความพยายามในจีนและเมียนมาแต่ก็ถูกคัดค้านจากประชาชนตลอด
ภาคประชาชนออกมาเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืนคัดค้านการสร้างเขื่อน ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ
การออกมาแสดงจุดยืนครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการออกมาปกป้องทรัพยากรของชาติและของโลก ยังเป็นการออกมาเรียกร้องในสิทธิของชุมชนให้น้ำไหลอย่างอิสระไม่กระทบคนลุ่มน้ำ
เพียรพร ดีเทศน์ ผอ.ฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ
เพียรพร ดีเทศน์ ผอ.ฝ่ายรณรงค์ประเทศไทย องค์การแม่น้ำนานาชาติ กล่าวว่า แม่น้ำสาละวินมีความเป็นธรรมชาติอย่างมากสามารถผลิตตะกอนให้มหาสมุทร 1 ใน 5 ของโลก พบว่า มีความพยายามผลักดันสร้างเขื่อนในมลฑลยูนนานในจีน 13 แห่งในจีน ซึ่งยังไม่ถูกบรรจุในแผน 5 ปีของจีนถือเป็นสัญญาณที่ดี
ส่วนตอนล่างในเมียนมา 7 โครงการเขื่อน ยังชะลออยู่ แต่โครงการเขื่อนอัดจีก็ยังกังวลประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงอย่างยิ่ง มองว่าทำอย่างไรสิทธิของแม่น้ำ ธรรมชาติของแม่น้ำ การไหลของแม่น้ำจะยังคงสามารถรักษาความอิสระไว้ได้
อ่านข่าว : สำรวจจุดก่อสร้างเขื่อนน้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน ผันน้ำลงเขื่อนภูมิพล
ภาคประชาชนออกมาเรียกร้องเพื่อย้ำจุดยืนคัดค้านการสร้างเขื่อน ที่จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการฯสถานการณ์สร้างเขื่อนในประเทศไทย ยังมีความกังวลโดยเฉพาะการสร้างเขื่อนในเขตป่ามรดกโลก เช่นพื้นที่ป่าเขาใหญ่ ทับลาน และตาพระยา
อ่านข่าว : ชาวบ้านร้องไม่ได้สะท้อนปัญหาสร้างเขื่อนน้ำยวม
ส่วนเขื่อนพื้นที่อื่น ๆ ยังมีความกังวล เขื่อนผันน้ำ เช่นน้ำยวม ที่มีการฟ้องร้องจากภาคประชาชนความคุ้มค่า และกรณีการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ภาคประชาชนมองว่าขาดการมีส่วนร่วม หรือกรณีการผันน้ำโขง-เลย-ชี-มูล ที่ใช้งบประมาณสูงกว่า 2.2 ล้านบาท
อ่านข่าวอื่น ๆ
โครงการผันน้ำยวม 8 หมื่นล้าน “พัฒนา” หรือ “รังแก” คนชายขอบ