ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อุตสาหกรรมอีวีมาแรง นักลงทุนไทย-เทศ แห่แย่งชิงส่วนแบ่งตลาด

เศรษฐกิจ
5 มี.ค. 67
15:21
403
Logo Thai PBS
อุตสาหกรรมอีวีมาแรง นักลงทุนไทย-เทศ แห่แย่งชิงส่วนแบ่งตลาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมพัฒน์ ชี้อุตสาหกรรมอีวีมาแรง รับเมกะเทรนด์รัฐบาล หวังดัน "ฮับ" ยานยนต์ไฟฟ้า นักธุรกิจไทย-ต่างชาติแห่ลงทุน ชิงส่วนแบ่งตลาด จับตาทุนจีนขยายลงทุนตั้งฐานผลิตในไทย ชี้โอกาสดึงถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม

วันนี้ (5 มี.ค.2567) นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวถึง อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องว่า เป็นธุรกิจดาวเด่นที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดรับ Mega Trend ของรัฐบาล มีทั้งนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติต่างเข้าสู่ธุรกิจเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดที่ยังมีพื้นที่อีกมาก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าและที่เกี่ยวเนื่องประกอบด้วยแบ่งออก เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มธุรกิจสถานีชาร์จ

โดยกลุ่มผู้ผลิตระบบควบคุมไฟฟ้า (Control Charging Plug and Socket) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 31 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 14,537.19 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ จำนวน 22 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 14,480.19 ล้านบาท

ขณะที่กลุ่มผู้ผลิตระบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Devices) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 122 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 76,674.67 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ 85 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 71,967.55 ล้านบาท

และกลุ่มธุรกิจสถานีชาร์จ (EV Charging Station) ปัจจุบันมีนิติบุคคลจำนวน 9 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 31,758.46 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลาง 4 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 31,328.01 ล้านบาท

อธิบดีกรมพัฒน์ฯกล่าวอีกว่า นักลงทุนต่างที่เข้าลงทุนในอุตสาหกรรมมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น เพราะหลังจากสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มธุรกิจดังกล่าวมีผลประกอบการทั้งรายได้และกำไรที่ฟื้นตัวได้เร็วกว่าธุรกิจขนาดอื่น รองลงมาเป็น สหรัฐ สิงคโปร์ ฮ่องกง อินเดีย และนักลงทุนไทย

การลงทุนของต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 1ของปีนี้ คาดว่าจะมี 23,000-27,000 ราย สาเหตุการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า และการกลับมาบริโภคของภาคเอกชน รวมถึงงบประมาณที่ได้รับอนุมัติซึ่งจะทำให้การลงทุนเมกะโปรเจกต์เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถ EV มีแนวโน้มการลงทุนจากสัญชาติจีนในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นแบรนด์จากประเทศจีน ซึ่งมีสัดส่วนการผลิตมากและส่งออกมากที่สุดของโลก

โดยมีการนำเข้ามาจำหน่ายในไทย ประมาณ 1% ของสัดส่วนการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศจีน ขณะเดียวกันประเทศจีนก็กำลังเข้ามาขยายฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอีกด้วย

โอกาสดีสำหรับไทยที่จะทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้าน และองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตรถ EV

นางอรมณ กล่าวว่า อุตสาหกรรม EV มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากความผันผวนของราคาน้ำมันหรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคยุคใหม่ใส่ใจมากยิ่งขึ้น แม้อุตสาหกรรมจะเผชิญความท้าทายด้านการทำกำไรก็ตาม

เนื่องจากราคารถ EV มีแนวโน้มถูกลงจากต้นทุนการผลิตที่ลดลง แต่ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตลอดจนการพัฒนารูปแบบรถ EV ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ทำให้โอกาสของรถ EV และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องมีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดด และทำกำไรอย่างต่อเนื่องในอนาคต

 อ่านข่าวอื่นๆ:

"สินเชื่อทะเบียนรถ" พุ่ง ส่งผล"หนี้ครัวเรือน" อ่วม 16.2 ล้านล้าน

เปิดอก ผู้ว่า ธปท. "เศรษฐพุฒิ" เศรษฐกิจมุมต่าง ระยะห่างที่เหมาะสม

 กระอัก EU ดีเดย์ ธ.ค.67 ออกมาตรการแบนสินค้าเข้าข่ายทำลายป่า

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง