วันนี้ (31 ม.ค.2567) นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี กล่าว่า หลังจากนำคณะจากอีอีซี เยือนเมืองนาโกย่า และเมืองโอชาก้า ประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อชวนภาคเอกชนชั้นนำจากญี่ปุ่น ร่วมลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG ด้านการพัฒนาพลังงานสะอาด

นาย จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี พบภาคเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น
นาย จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี พบภาคเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น
ซึ่งจะเป็นการลงทุนสำคัญ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขับเคลื่อนให้พื้นที่อีอีซี และไทยก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
โดยได้พบกับผู้บริหารของ DENSO ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลก และผู้บริหารของ Toyota Motor ถึงโอกาสการขยายลงทุนด้านเทคโนโลยีไฮโดรเจน เพื่อรองรับการใช้พลังงานสะอาด พร้อมเยี่ยมชมสถานีเติมไฮโดรเจน ที่ Toyota Eco ful Town ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่นำไฮโดรเจนมาใช้เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้หารือถึงแนวทางการขยายผลนำไฮโดรเจนมาใช้ประโยชน์ภาคขนส่งในพื้นที่อีอีซี

นอกจากนี้ ยังได้พบกับกงศุลใหญ่กิตติมศักดิ์ เมืองนาโกย่า และผู้บริหารระดับสูงบริษัท Kowa ซึ่งสนใจจะลงทุนผลิตไฮโดรเจน และแอมโมเนียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้หารือถึงการขยายลงทุนเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฮโดรเจน ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้การลงทุน BCG
เลขาธิการอีอีซี กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการศูนย์ธุรกิจอีอีซี และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ หลังโครงการฯ ได้รับความเห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีกลุ่มหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนของประเทศญี่ปุ่น ทั้งกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ระบบสาธารณูปโภค ธุรกิจการเงิน และเทคโนโลยี ให้ความสนใจ

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี พบภาคเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี พบภาคเอกชนชั้นนำของญี่ปุ่น
เช่น Ministry of Land, Infrastructure, Transportation and Tourism (MLIT), Urban Renaissance Agency (UR), บริษัท Tokyo Electric Power Company (TEPCO) ผู้ให้บริการพลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น, Tokyo Corporation และบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นให้ความสนใจเข้าร่วม
สำหรับภาพรวมการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่น ในช่วงปี 2561-พ.ย.2566 พบว่า ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นให้ความสนใจในการลงทุนในพื้นอีอีซี สูงเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่าที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) มูลค่า 183,702 ล้านบาท
ทั้งนี้อีอีซีได้กำหนดเป้าหมายในระยะเวลา 3 ปี (ปี 2567-2569) ให้เกิดมูลค่าการลงทุนจริง ในคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย ประมาณ 4 แสนล้านบาท
อ่านข่าวอื่นๆ:
ดัชนีเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคดีขึ้น “บริการ-ลงทุน”หนุน
คนจีนแชมป์สั่งซื้อ "ทุเรียนไทย" ปี66 พุ่งกว่า 9 หมื่นล้าน