ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กม.จราจรใหม่ เพิ่มตรวจวัดแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้

อาชญากรรม
31 ม.ค. 67
07:09
7,441
Logo Thai PBS
กม.จราจรใหม่ เพิ่มตรวจวัดแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น กรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่ากำหนด

วันที่ 30 ม.ค.2567 นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ เพื่อเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่

ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ 13 ) พ.ศ.2565 รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่า เป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท

อ่านข่าว : คุมประพฤติ สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ เมาแล้วขับสูงสุด 7,864 คดี

นายคารม กล่าวว่า สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 และครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์บุคคลที่อยู่ในภาวะที่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีการตรวจวัดจากลมหายใจได้ รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1.วิธีตรวจหรือทดสอบ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการ ดังนี้

1) ตรวจวัดลมหายใจ โดยวิธีเป่าลมหายใจ

2) ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม)

3) ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ โดยกำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่นด้วยวิธีการทางการแพทย์ที่เจ็บปวดน้อยที่สุด และไม่เป็นอันตรายอย่างอื่น ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ “ตรวจจากปัสสาวะ” เป็น “ตรวจจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ” เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

2.หน้าที่ของพนักงานสอบสวนและแพทย์ กรณีมีอุบัติเหตุจากการขับขี่และมีพฤติการณ์เชื่อว่าผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ได้กระทำการฝ่าฝืนตาม ม.43 (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ให้พนักงานสอบสวนพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวหรือไม่ทุกกรณี ตามวิธีการตรวจหรือทดสอบวัดปริมาณแอลกอฮอล์ เดิมเจ้าพนักงานฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์บางกรณี เช่น บุคคลที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์  

3.กรณีผู้ขับขี่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยการวัดจากลมหายใจ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้

1. ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ หรือด้วยวาจา วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่น จากนั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ

อ่านข่าว : "หมอแท้จริง" ร้องขอกม.เอาผิดร้านเหล้า หากปล่อยคนเมาแล้วขับ

2. ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว โดยให้พนักงานสอบสวนเก็บรวบรวมในสำนวนการสอบสวน

3. ให้สันนิษฐานว่าบุคคลที่เป็นผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้นมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยให้แพทย์บันทึกการไม่ยินยอมนั้นและแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีตามที่กำหนด

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

สำหรับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด แบ่งออกดังนี้

1) กรณีตรวจวัดจากเลือด (เจาะเลือด) หากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) หรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว เป็นต้น หรือกรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

2) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะให้เทียบกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

1. กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วย 2,000 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น หากวัดปริมาณแอลกอฮอล์จาก ลมหายใจได้ค่า 0.04 ให้คูณด้วย 2,000 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 80 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 80 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

2. กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1.3 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วยเศษ 1 ส่วน 1.3 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น วัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะ วัดค่าได้ 78 ให้คูณด้วย เศษ 1 ส่วน 1.3 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 60 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 60 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

ความผิดฐาน เมาแล้วขับ

ทั้งนี้ เมาแล้วขับจะมีโทษทั้งจำและปรับ ดังนี้ 

โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บ.หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่มี ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่มีอายุน้อยกว่า 20 ปีบริบูรณ์ หรือ ผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราว (ใบอนุญาตแบบ 2 ปี) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 21 พ.ศ. 2550 ออกความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ถือเป็น “ผู้เมาสุรา”

ปริมาณเแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน

กรณี "เมาแล้วขับ" หรือ "การปฏิเสธเป่า"

มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บจราจรทางบก ฉบับใหม่ ให้ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากของเสียจากร่างกายได้เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

อ่านข่าว : เตือนเมาแล้วขับ กฎหมายจราจรใหม่เพิ่มโทษหนักคนทำผิดซ้ำ 

กรณี "เมาแล้วขับ" จนทำให้ผู้อื่น "บาดเจ็บ"

จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บ.และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ

กรณี "เมาแล้วขับ" จนทำให้ผู้อื่น "บาดเจ็บสาหัส"

จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บ.ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี

กรณี "เมาแล้วขับ" จนทำให้ผู้อื่น "ถึงแก่ความตาย"

จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บ. และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที 

อ่านข่าว อื่น ๆ

โฆษก ตร.ยืนยัน "ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์" เป็นของจริง - เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ค.65 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง