ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เช็ก 3 ช่องทาง เปลี่ยนโรงพยาบาล "ประกันสังคม 2567"

สังคม
17 ม.ค. 67
15:11
28,076
Logo Thai PBS
เช็ก 3 ช่องทาง เปลี่ยนโรงพยาบาล "ประกันสังคม 2567"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ประกันสังคม" เปิดให้เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2567 ยื่นเรื่องผ่าน 3 ช่องทาง ตั้งแต่วันนี้ - 31 มี.ค. 2567 เช็กขั้นตอนได้ที่นี่

สำนักงานประกันสังคม เปิดให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถแจ้งขอเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี ด้วยเหตุจำเป็น เช่น ย้ายที่พักอาศัย ย้ายสถานที่ประจำทำงาน สามารถเริ่มเปลี่ยนสถานพยาบาล ได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 มี.ค.2567  

อ่านข่าว : แห้ว “ดิจิทัลวอลเล็ต” 10,000 บาท แจกไม่ทัน พ.ค.นี้

อ่านข่าว : กกพ.คาดค่าไฟฟ้า "พ.ค.-ส.ค." อยู่ที่ 4.20-4.25 บาทต่อหน่วย

ผู้ประกันตนสามารถยื่นเรื่องได้ทั้ง 3 ช่องทาง ดังนี้

1.  ทำรายการผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยเพิ่มเพื่อน @ssothai (สำนักงานประกันสังคม)

  • เลือกเมนู "ข้อมูลของผู้ประกันตน"  
  • เลือกเมนู "เปลี่ยนโรงพยาบาล"
  • เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน และกด "ยืนยัน"
  • เมื่อยื่นเรื่องเสร็จสิ้น รอผลเพียง 2 วันเท่านั้น

2. ผ่านทางเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม คลิก www.sso.go.th โดยสามารถ เข้าสู่ระบบ/สมัครสมาชิก กด "ยื่นแบบขอเปลี่ยนสถานพยาบาล" เลือกเหตุผลการเปลี่ยน เลือกสถานพยาบาลใหม่ที่ต้องการ กด "ยอมรับข้อตกลง" พร้อมบันทึก

3. ยื่นแบบการเลือกสถานพยาบาลในการรับบริการทางการแพทย์ สปส. 9-02 ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่งทั่วประเทศ

(หากผู้ประกันตนยื่นเรื่องเปลี่ยนสถานพยาบาลผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันแล้วไม่จำเป็นต้องยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคมอีก)

อ่านข่าว : อัปเดตสิทธิประกันสังคม 2567 ผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ได้สิทธิอะไรบ้าง

รายชื่อสถาพยาบาลประกันสังคม ปี 2567 แยกตามจังหวัด

ตรวจสอบรายชื่อสถานพยาบาลที่ต้องการเปลี่ยน/เลือก และสามารถรับจำนวนผู้ประกันตน ปี 2567 ได้ที่นี่ https://bit.ly/3uZXguC

ผู้ประกันตนสามารถสอบถามจากนายจ้าง/เว็บไซต์ของ สำนักงานประกันสังคม หรือ สายด่วน 1506

ทั้งนี้ การใช้สิทธิโรงพยาบาลใหม่ หลังจากยื่นเรื่องแล้วจะสามารถใช้สิทธิ ณ โรงพยาบาลใหม่ได้ภายในวันที่ 1 และ 16 ของเดือน

ปี 2567 มีสถานพยาบาลให้บริการทางการแพทย์ 267 แห่ง แยกเป็นสถานพยาบาลภาครัฐ จำนวน 170 แห่ง และสถานพยาบาลเอกชน จำนวน 97 แห่ง

สำหรับการเปลี่ยนสถานพยาบาลในแต่ละครั้งนั้น แนะนำให้ผู้ประกันตนควรเลือกด้วยตนเอง และให้คำนึงถึงความสะดวก ความพึงพอใจ และประโยชน์ในการขอรับบริการทางการแพทย์

อย่างไรก็ตาม สถานพยาบาลที่เลือกจะต้องเป็นสถานพยาบาลในจังหวัดที่ผู้ประกันตนทำงานอยู่ หรือพักอาศัยในเขตรอยต่อของจังหวัดดังกล่าว และมีจำนวนผู้ประกันตนไม่เกินตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

อ่านข่าว : บัตรใบเดียวรักษาทุกที "โครงการนำร่อง" ไม่ตอบโจทย์งบประมาณ

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ไม่ประสงค์เปลี่ยนสถานพยาบาลสามารถใช้สิทธิรับบริการทางการแพทย์จากสถานพยาบาลตามสิทธิเดิมได้ กรณีผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพจากความเป็นผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิต่อไปได้อีก 6 เดือน นับแต่วันที่สิ้นสภาพ สามารถตรวจสอบสิทธิการรักษาพยาบาล ได้ที่ผ่าน เว็บไซต์ ไลน์ และ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา สถานพยาบาลในโครงการประกันสังคมทุกแห่งทั่วประเทศ

รวมถึงเครื่อง Smart Kiosk ของกระทรวงมหาดไทย หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่สายด่วน 1506 

ยังไม่เลือกโรงพยาบาล เข้ารับการรักษาได้หรือไม่

สำหรับผู้ประกันตนมีสิทธิแล้ว แต่ยังไม่เลือกโรงพยาบาล สำนักงานประกันสังคม อธิบายว่า เข้ารับการรักษาได้ สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนไข ดังนี้

  • กรณีเจ็บป่วย

ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

  • กรณีทุพพลภาพ

ส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ

กรณีสงเคราะห์บุตร ส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน
ก่อนเดือนทีมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน

  • กรณีคลอดบุตร

ส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอด มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดครั้ง กรณีมีสิทธิการรักษาพยาบาล แต่ยังไม่ปรากฏสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาล

สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว แต่ยังไม่ปรากฎสถานพยาบาลตามสิทธิรักษาพยาบาล สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐได้ โดยต้องสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อน แล้วยื่นเรื่องขอรับค่าบริการทางการแพทย์ที่สำนักงานประกันสังคมภายใน 2 ปี

ทั้งนี้ หากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีอุบัติเหตุ ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ในอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน

กรณีผู้ประกันตนจำเป็นต้องรับการรักษาตัวประเภทผู้ป่วยในให้ผู้ประกันตน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งสำนักงานประกันสังคมในท้องที่ที่เกิดเหตุทราบทันที เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมดังกล่าว กำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนใช้บริการทางการแพทย์ต่อไป

ส่งเงินสมทบครบไม่ขาดส่งก็ไม่ขาดสิทธิ

อ่านข่าวอื่น ๆ

รพ.จุฬาฯใช้หุ่นยนต์ บริการผู้ป่วยนอก ลดขั้นตอนทำบัตรผู้ป่วย

ผู้ว่าฯ สั่งสอบ - เยียวยา รถขยะปล่อยน้ำนอง ทำรถล้มคนเจ็บ

ศาลยกฟ้อง "พธม." บุกสนามบินดอนเมือง สั่งปรับ 13 จำเลยคนละ 2 หมื่น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง