ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ภาคประชาชนหวังบังคับใช้ "สมรสเท่าเทียม" ทันทีหลังผ่านรัฐสภา

สังคม
22 ธ.ค. 66
19:54
861
Logo Thai PBS
ภาคประชาชนหวังบังคับใช้ "สมรสเท่าเทียม" ทันทีหลังผ่านรัฐสภา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2566 ที่มี นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาฯ คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม วาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…. หรือ ร่าง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม จำนวน 4 ฉบับ

ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอ, ร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ พรรคก้าวไกล กับคณะเป็นผู้เสนอ, ร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง อรรณว์ ชุมาพร กับประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 11,611 คน เป็นผู้เสนอ และร่าง พ.ร.บ.ซึ่ง นายสรรเพชญ บุญญามณี พรรคประชาธิปัตย์ กับคณะ เป็นผู้เสนอ

หลังใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมง ได้เปิดให้ผู้เสนอร่างอภิปรายสรุป ก่อนเปิดให้สมาชิกลงมติรับหลักการวาระแรก ซึ่งที่ประชุมได้มีมติให้รับหลักการ ทั้ง 4 ฉบับ ด้วยมติ 369 ต่อ 10 เสียง ขณะที่ รัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างออกมาสนับสนุน ยืนยันไม่เอาเรื่องการเมืองมาปนกับเรื่องความเท่าเทียมของคนในสังคม

ด้าน นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในช่วงกำหนดการลาพักร้อน ทันทีที่ทราบมติสภา ได้โพสต์ข้อความ ใน X ระบุว่า

ขอแสดงความยินดีกับพี่น้อง LGBTQIA+ ทุกท่านที่ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ได้ผ่านการโหวตวาระที่หนึ่งด้วยคะแนนท่วมท้น วันนี้ ก้าวแรกของการเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นแล้วครับ

อ่านข่าว : เส้นทาง 22 ปี สู่ "สมรสเท่าเทียม" อีกขั้นสู่ความเท่าเทียม

และครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกของสภาชุดนี้ที่อนุญาตให้นำสิ่งของเครื่องประดับเข้าไป จนสภาเต็มไปด้วยสีรุ้ง แต่ ส.ส.ที่ลุกขึ้นอภิปราย 50 คน ต่างได้รับเสียงชื่นชมจากประชาชนและผู้คนในโลกออนไลน์ ที่ล้วนแต่สนับสนุนให้การสมรสกันของบุคคลเพศหลากหลายในไทย ให้ได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียม

ขณะที่ ในชั้นของกรรมาธิการจะมีตัวแทนจากภาคประชาชนที่เข้าไปนั่งในสภาด้วยถึง 13 คน นั้นหมายถึงความเห็นของภาคประชาชนจะมีโอกาสได้นำเสนออย่างที่ตั้งใจไว้ โดยจะใช้เวลาในการแปรญัตติ 15 วัน ก่อนเสนอเข้าสู่สภาฯ อีกครั้ง และคาดการณ์ว่าอาจได้เห็น "สมรสเท่าเทียม" มีผลบังคับใช้ก่อนไพรด์พาเหรด ในปี 2567

ภาค ปชช.หวังบังคับใช้ทันทีหลังผ่านรัฐสภา

การมีบทเฉพาะกาลที่ภาคประชาชนมองว่าจะช่วยแก้ปัญหาทั้งเรื่องของการเรียก "บุพการี" การตั้งคำถามของเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนเวลาคู่รักเพศหลากหลายไปจดทะเบียนสมรส และเมื่อรัฐบาลเป็นร่างหลัก ภาคประชาชนก็มองว่านี่อาจเป็นสัญญาณบวก หากภาครัฐมีจุดยืนที่จะสนับสนุนเรื่องนี้อย่างชัดเจน

อ่านข่าว : ทำไมต้อง "สมรสเท่าเทียม" หนึ่งเสียงสะท้อนขอสิทธิ "คนเท่ากัน"

หลายคนอาจตั้งคำถามทำไมกฎหมายฉบับนี้จะต้องเร่งพิจารณาให้เร็วขึ้นนั้น เพราะนี่คือการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความมั่นคงในการสร้างครอบครัวให้กับคนทุกเพศอย่างแท้จริง

ไม่ว่าจะเป็นคนที่ต้องเสียคนรักไปเพราะไม่สามารถเซ็นยินยอมรักษาให้กับคู่รักได้ หรือกรณีของข้าราชครูที่ไม่สามารถมอบสิทธิ-สวัสดิการ เบิกค่ายารักษาได้เหมือนกับคู่สมรสชายหญิง หลายคู่ บอกว่า  การผ่านกฎหมายฉบับนี้ คือ "การคืนสิทธิที่พวกเขาและเธอ ถูกพรากไปกลับคืนมา"

จ.ส.อ.สุทัศน์ พังพิศ - พุฒิพงษ์ จาดจร คู่รักเพศหลากหลาย

จ.ส.อ.สุทัศน์ พังพิศ - พุฒิพงษ์ จาดจร คู่รักเพศหลากหลาย

จ.ส.อ.สุทัศน์ พังพิศ - พุฒิพงษ์ จาดจร คู่รักเพศหลากหลาย

อีกประเด็นที่มองข้ามไม่ได้ คือ 10 เสียงโหวตไม่รับร่างสมรสเท่าเทียม ด้วยเหตุผลด้านศาสนา นักวิชาการและภาคประชาสังคม มองว่า นี่เป็นเรื่องปกติของสังคม แต่สิ่งที่สำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ทุกเหตุผลถูกยอมรับ และเคารพสิทธิ ศักดิ์ศรีของกันและกัน

อ่านข่าวอื่น ๆ

รวบผู้ต้องหาลวง "รับซื้อพระเครื่อง" ผ่านเฟซบุ๊กสูญ 400 ล้าน

ก.แรงงาน จัดเต็ม มอบของขวัญปีใหม่ 11 ชิ้น ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ - ช่วยปลดหนี้

ปนเปื้อน เดอะซีรี่ส์ EP.4 อีก 1,000 ล้าน "แลกชีวิตเดิม" ไม่ได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง