ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แรงกดดันเงินเฟ้อลด คาด กนง.คงดอกเบี้ย 2.50% ยาวถึงปี 67

เศรษฐกิจ
27 พ.ย. 66
13:21
2,061
Logo Thai PBS
แรงกดดันเงินเฟ้อลด คาด กนง.คงดอกเบี้ย 2.50% ยาวถึงปี 67
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ลุ้น 29 พ.ย. กนง.ประชุมดอกเบี้ยยโยบาย หลังแรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยทยอยฟื้นตัวลักษณะเปราะบาง ด้านพาณิชย์เผย 10 เดือน ส่งออกไทยติดลบร้อยละ2.7

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า วันที่ 29 พ.ย.2566 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกร คาด กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 2.50 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อลดลงอย่างมาก ขณะที่เศรษฐกิจไทยยังทยอยฟื้นตัวแม้เป็นไปในลักษณะเปราะบางสะท้อนผ่านตัวเลข GDP ในไตรมาส 3/2566 ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับร้อยละ 2.50 ไปทั้งปี 2567

อย่างไรก็ตาม หากเศรษฐกิจไทยในปีหน้ายังคงฟื้นตัวต่อเนื่องและขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าปี 2566 ส่วนทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมาจากภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ

อ่านข่าว จับตา "ปานปรีย์" ถกขึ้นเงินเดือน ขรก.หารือหลักเกณฑ์-ผลกระทบ

นอกจากนี้ ภาคการส่งออกของไทยในปีหน้าก็คาดว่าจะกลับมาเติบโตได้ในแดนบวก โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 2567 ก็คงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยหนุนการบริโภคภายในประเทศให้ยังขยายตัวได้

คาดเงินปีหน้าเฟ้อไทยขยายตัว1-3%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า เงินเฟ้อไทยมีแนวโน้มที่จะยังทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมายของ กนง.ที่ร้อยละ 1-3 ต่อไปในปี 2567 แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อของไทยในปัจจุบันได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมาก

แต่ในระยะข้างหน้ายังคงมีความเสี่ยงที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นซึ่งคงจะก่อให้เกิดความท้าทายต่อการดำเนินมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ โดยเฉพาะการลดค่าพลังงานในระยะข้างหน้า รวมถึงคงส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อของไทยมีโอกาสที่อาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้

นอกจากนี้ จากการส่งสัญญาณของ กนง. ในช่วงก่อนหน้านี้ คาดว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายในระดับสูงต่อเนื่องเพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy Space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มจะคงดอกเบี้ยสูงยาวนานขึ้น (High for longer) ท่ามกลางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ยังแข็งแกร่งกว่าคาด

"พาณิชย์"เผย 10 เดือนส่งออกไทยติดลบ

ด้านนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยการส่งออกไทยเดือนตุลาคม 2566 และ 10 เดือนของปีนี้ ว่า การส่งออกเดือนตุลาคม มีมูลค่า 23,578.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.0 การนำเข้ามีมูลค่า 24,411.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่วนดุลการค้าไทยขาดดุล 832.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

ส่งผลให้ภาพรวม  10 เดือนแรกไทยส่งออกมี มีมูลค่า 236,648.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.7 การนำเข้า มีมูลค่า 243,313.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.6 ดุลการค้า 10 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 6,665.0 ล้านเหรียญสหรัฐ

มั่นใจไตรมาสสุดท้ายพลิดกลับมาบวก

ทั้งนี้ การส่งออกของโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยการส่งออกของไทยในเดือนนี้ขยายตัวมากกว่าที่คาดและมากกว่าหลายประเทศในอาเซียน มีสัญญาณฟื้นตัวในหลายสินค้าสำคัญที่กลับมาเป็นบวกหรือหดตัวชะลอลง อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารสัตว์เลี้ยง เฟอร์นิ เจอร์และชิ้นส่วน ฯลฯ

โดยมีแรงหนุนจากอุปสงค์ที่ทยอยฟื้นตัวในช่วงเทศกาลปลายปี อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั่วโลกเริ่มลดลง แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ในระดับสูง แต่เริ่มมีสัญญาณใกล้ยุติมาตรการคุมเข้มทางการเงินโดยเฉพาะสหรัฐฯ ในขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของจีนเริ่มส่งผล โดยตัวเลขการบริโภคและการลงทุนของจีนเริ่มฟื้นตัวขึ้น

สำหรับสถานการณ์อิสราเอลและฮามาสยังคงอยู่ในวงจำกัดจึงยังไม่กระทบต่อการส่งออกภาพรวม ทั้งนี้ การส่งออกไทย 10 เดือนแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 2.7 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 0.6

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

พาณิชย์-เอกชน ประเมินส่งออกไทยปี 67 ขยายตัวแค่ 1.99%

เตรียมรับมือ "ผัก-ผลไม้" ฉลากสินค้าเรือนกระจก หลังญี่ปุ่นเข้มนำร่อง

ว่าที่ดาวเด่น Soft Power "กวาวเครือขาว" สมุนไพรไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง