ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิธีรับมือกับ "ตรรกะวิบัติ" ที่นักวิทยาศาสตร์ "คาร์ล เซแกน" แนะนำ

Logo Thai PBS
วิธีรับมือกับ "ตรรกะวิบัติ" ที่นักวิทยาศาสตร์ "คาร์ล เซแกน" แนะนำ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตรรกะวิบัติ (Fallacy) คือสิ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงหลุมพรางของกระบวนการคิด ที่ทำให้การสรุปผลความรู้นั้นผิดพลาดไป นักวิทยาศาสตร์ คาร์ล เซแกน (Carl Sagan) ได้อธิบายการรับมือป้องกันกับการตกหลุมตรรกะวิบัติไว้ในหนังสือ โลกที่เต็มไปด้วยปีศาจ (Demon-Hu

ในสังคมปัจจุบันเราอาจถูกหลอกได้ด้วยข้อมูลที่ไม่จริง หรือเราถูกทำให้เชื่อว่าจริงผ่านการอ้างอิงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตามการหยิบกระบวนการใดกระบวนการหนึ่งขึ้นมาอ้างไม่ได้หมายความว่าข้อมูลนั้น หรือการสรุปผลอันมาจากกระบวนการนั้นจะเป็นจริง เราจึงเห็นกรณีของข่าวปลอม การหลอกลวง หรือความพยายามในการพิสูจน์ในสิ่งที่หากใช้ตรรกะและเหตุผลแต่แรกก็รู้ว่าไม่จริง

ในหนังสือเรื่อง Demon-Haunted World : Science as a Candle in the Dark หรือ “โลกที่เต็มไปด้วยปีศาจ วิทยาศาสตร์คือแสงเทียนในความมืด” ที่เขียนโดยคาร์ล เซแกน (Carl Sagan) ได้มีการอธิบายถึงลักษณะของตรรกะวิบัติ (Fallacy) ไว้ทั้งหมด 20 รูปแบบด้วยกัน เรียกว่า Baloney Detection Kit ยกตัวอย่าง เช่น

- การโจมตีตัวบุคคล (ad hominem) ที่เป็นการกล่าวอ้าง หรือโจมตีตัวบุคคลโดยไม่สนใจเนื้อหาที่ผู้นั้นพูด
- การขอให้โง่ (Appeal to Ignorance) คือการยอมรับว่า อะไรที่ไม่ได้ถูกพิสูจน์ว่าไม่มีจริงแปลว่าสิ่งนั้นมีจริง เช่น เราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามนุษย์ต่างดาวมีจริงหรือไม่มีจริง ดังนั้นมันอาจจะมีจริงก็ได้
- การอ้างลำดับก่อนหลัง (post hoc) คือการนำเอาลำดับการเกิดขึ้นก่อนและหลังเพื่อมาสรุปตีความ ทั้งที่สองสิ่งอาจจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกันก็ได้ เช่น เขารับประทานอาหาร สองวันต่อมาเขาป่วย ไม่อาจนำมาสรุปผลว่า เขารับประทานอาหารแล้วจึงป่วย หรือ เขาป่วยจากการรับประทานอาหาร

หรือการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน มาเป็นสิ่งที่นำมาสู่ผลเดียวกัน (correlation and causation) เช่น อาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้นในหน้าร้อน และยอดขายไอศกรีมเพิ่มสูงขึ้นในหน้าร้อน ไม่ได้หมายความว่า ไอศกรีมนำไปสู่การก่ออาชญากรรม ทั้งนี้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปในทางเดียวกันอาจมีปัจจัยอื่น เช่น อากาศที่ร้อนทำให้คนก่ออาชญากรรม และอากาศที่ร้อนทำให้คนซื้อไอศกรีม

นอกจากการพูดถึงลักษณะของตรรกะวิบัติต่าง ๆ เซแกนสรุปเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า “Extraordinary claims require extraordinary evidence.” หรือ การเคลมสิ่งที่ไม่ธรรมดา ก็ต้องอาศัยหลักฐานที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน หรือแม้กระทั่ง Burden of Proof ที่พูดถึงว่า ใครควรจะเป็นคนต้องพิสูจน์สิ่งนี้กันแน่ เช่น หากมีคนมาบอกว่า “ผีมีจริง” หน้าที่การพิสูจน์ควรจะเป็นของคนที่บอกว่าผีมีจริง ให้จับผีมาให้ดู ไม่ใช่ให้คนอื่นมาพิสูจน์ให้ได้ว่าผีไม่มีจริง

ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันที่เซแกนได้อธิบายไว้ก็คือพฤติกรรมของมนุษย์และบริบททางสังคม ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายสำคัญว่าทำไมสังคมมนุษย์ถึงยังคงมีหลุมพรางเหล่านี้อยู่

เซแกนให้ความสำคัญอย่างมาก และเรียกรวมสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นการคิดแบบวิมตินิยม (Skepticstism) ซึ่งเป็นการตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัว และไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราไม่ตกหลุมพรางของความโง่เขลานั่นเอง

ที่มาภาพ: NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง