วันนี้ (13 ก.ค.2566) เมื่อเวลา 14.16 น.นายสมชาย แสวงการ ส.ว.อภิปรายในการประชุมรัฐสภา วาระโหวตนายกรัฐมนตรีว่า ประเทศไทยปกครองระบอบประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีการเลือกตั้ง ส.ส.และแล้วให้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรี มิใช่การเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และนายรัฐมนตรีโดยตรง เหมือนในกลุ่มบุคคลในสภา บนถนน และโซเซียล ที่เป็นกองทัพอวตาร พยายามบังคับกดทับ บูลลี่ว่าเป็นเสียงช้างที่ประชาชนเลือก และต้องบังคับให้ ส.ว.ต้องเลือกด้วย
ก่อนหน้านี้มี ส.ว.บางส่วนขอปิดสวิตซ์ตัวเอง หลัง 11 พ.ค. แต่ก็ถูกข่มขู่บูลลี่ มีทุกรูปแบบ ไม่ขอพูดในเรื่องวิชามาร ทั้งครอบครัว บุคคล ยืนยันว่าส.ว. 250 คนเป็นส.ว.ที่โปรดเกล้ามาเป็นส.ว.ตามรธน.ปี 2560 เป็นแทนปวงชนชาวไทย อย่างวสมบูรณ์ ในการทำหน้าที่กลั่นกรองบุคคลที่จะมาทำหน้าที่ ทั้งประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ประธานศาลฎีกาเป็นต้น
ตลอดเวลา 4 ปีทำหน้าที่ในสมาชิก ส.ว.ยืนยันทุกท่านทำหน้า ครบถ้วนไม่มีอคติ ไม่มีอามิสสินจ้าง และไม่ถูกกระทการตามหลังมาแบบแก้ว 3 ประการคือในสภา บุคคลในท้องถนน และโซเชียล วันนี้ก็จะทำเช่นนั้น
“วันนี้ ส.ว.จะทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา โดยไม่เกรงกลัวใด ๆ สมาชิกทุกคนเคารพเสียงประชาชน ไม่ว่าจะเห็นด้วยกับพรรคที่ไม่เห็นด้วย และทั้งประเทศ 67 ล้านคน หลังวันนี้ไม่ว่านายพิธา จะเป็นนายกฯ หรือไม่ ขอให้ยกเลิกการอ้างว่า 14 ล้านเสียง มาบังคับว่าต้องเห็นด้วย แบบนี้เป็นเผด็จการ”
อย่าใช้สังคมกดทับ อย่าใช้ประชาธิปไตยฟุ่มเฟือย และไม่สบายใจกับการรณรงค์ของบางกลุ่มที่โหยหาโดยไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ และอย่าร้องโหยหาอดีต 2475 เพราะเป็นการยึดอำนาจ เป็นการปฎิวัติ
นายสมชาย กล่าวอีกว่า ทำไมคนสมัยนั้นต่อต้ายคณะราษฎร และทำไมจึงเลือกการปกครองแบบนี้ คนไทยไม่ยอมเลือกการปกครองสมบูรณ์แบบที่บางกลุ่มกำลังเรียกร้องโหยหา
นายสมชาย หยิบยกเอกสารแก้ไขกฎหมายที่พรรคก้าวไกลนำเสนอเข้าสภาฯ เนื้อหาคือแก้ไขในหลายมาตราเกี่ยวกับมาตรา 112 และความผิดต่ำกว่าบุคคลธรรมดา และยังเดินหน้าล้มรัฐธรรมนูญ โดยการใช้ประชามติร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ ซึ่งหลังจากก่อนหน้านี้เคยทำประชามติดังกล่าว แต่วุฒิสภาก็ไม่เห็นชอบมาแล้ว แต่ตอนนี้มีเสียงเกิน 150 เสียงแล้วและกังวลว่าจะแก้ไขความขัดแย้งในรัฐธรรมนูญปี 2550 และมาถึง 2560
อ่านข่าวเพิ่มประชุมสภา : "พิธา" ชี้แจงปม "แบ่งแยกดินแดน" ย้ำประเทศไทยใต้การนำเป็น "รัฐเดียว"
ยันไม่ใช่ไม่ชอบ "พิธา"แต่ทำหน้าที่ ส.ว.
ด้านนายเสรี สุวรรณภานนท์ ไม่สนับสนุนนายพิธา เป็นนายกฯ ยืนยัน เคารพประชาชน แต่การทำหน้าที่ของ ส.ว.แยกส่วนจากเสียง ประชาชนที่เลือกตั้ง ซึ่งส่วนนั้นจบไปแล้ว แต่การโหวตในสภา นายกฯ ต้องไม่มีคุณลักษณะต้องห้าม
นอกจากนี้ที่ผ่านมายังมองว่า พรรคก้าวไกลยังมีส่วนยุยงให้คนทำผิด จนเยาวชนหรือประชาชนทำผิดกฎหมายมากมาย รวมไปถึงการเสนอแก้ ม.112 โดยอ้างกฎหมายกลั่นแกล้งเพียงเพื่อต้องการได้มวลชนสนับสนุน และต่อให้นายพิธา ยืนยันว่าจะไม่แก้ไข ม.112 แล้ว ตนก็ไม่เชื่อ เพราะที่ผ่านมาการกระทำกับคำพูดไม่เคยตรงกัน
ไม่สนับสนุนไม่ใช่เพราะความไม่ชอบ แต่เป็นการทำหน้าที่ของ ส.ว. ที่ต้องการปกป้องสิ่งที่เป็นเสาหลักของประเทศให้คงอยู่ต่อไป
ทั้งนี้หลังจากลงมติแล้วหากได้เสียงสนับสนุนเพียงพอที่จะเป็นนายกฯ ตนก็ยินดี แต่หากไม่ได้ก็ขอให้ยืนยันต่อรัฐสภาว่า จะไม่แสดงการกระทำใดที่เป็นการปลุกม็อบให้ประชาชนออกมาเรียกร้องให้เป็นนายกฯ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประชุมสภา : "ชาดา" เดือดกลางสภาท้า "พิธา" ไม่แก้ 112 พร้อมโหวตนายกฯ
ประชุมสภา : "เพื่อไทย" เสนอ "พิธา" เป็นนายกฯ ไร้พรรคอื่นเสนอแคนดิเดตนายกฯแข่ง