วันประชากรโลก (World Population Day) เป็นวันสำคัญประจำปีในวันที่ 11 กรกฎาคม กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความตระหนักในประเด็นปัญหาของประชากรโลก ส่งเสริมสนับสนุนให้ความรู้สิทธิพื้นฐาน รู้จักการวางแผนครอบครัวซึ่งจะนำไปสู่การมีประชากรโลกที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี
เมื่อวันที่ 15 พ.ย.2022 องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศ โลกมีประชากรครบ 8,000 ล้านคนแล้ว โดยกว่าครึ่งของประชากรโลกขณะนี้อยู่ภูมิภาคเอเชีย
ปีนี้ 2023 ยังเป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์สำหรับประชากรศาสตร์ของเอเชีย ที่อินเดียจะขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 1 ของโลก แซงหน้าจีน โดยคาดว่าประชากรอินเดียจะเพิ่มเป็น 1,428.6 ล้านคน มากกว่าจีน 2.9 ล้านคน โดยประชากรของจีนอยู่ที่ 1,425.7 ล้านคน
ตลอดกว่า 70 ปีที่ผ่านมา 2 ประเทศนี้มีจำนวนประชากรคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของทั้งโลกที่มีอยู่กว่า 8,045 ล้านคน ในปัจจุบัน แต่อัตราการเกิดที่ลดลงในจีนที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาพักหนึ่ง ทำให้ปีที่แล้วเป็นปีแรกในรอบกว่า 60 ปี ที่จำนวนประชากรจีนลดลงหรือตั้งแต่ปี 1961
ขณะที่ อินเดียก็มีอัตราการเกิดที่ชะลอตัวลงเช่นกันในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา จากเดิมอัตราการเกิดอยู่ที่ 5.7 ต่อผู้หญิง 1 คน เมื่อปี 1950 ลดลงเหลือ 2.2 ในปัจจุบัน ตามข้อมูลจากธนาคารโลก
ประชากรอินเดียยังนับว่าอายุน้อยกว่ามากในภาพรวม โดยมีคนอายุน้อย คือ ระหว่าง 15-24 ปี มากที่สุดในโลก ที่กว่า 254 ล้านคน ทำให้การเติบโตของประเทศนี้จะส่งผลในเชิงเศรษฐศาสตร์และเป็นที่น่าจับตามอง
คาดปี 2023 ประชากรโลกเพิ่มเป็น 8.5 พันล้านคน
คาดปี 2023 ประชากรโลกเพิ่มเป็น 8.5 พันล้านคน
จากรายงาน World Population Prospects 2022 ของ ยูเอ็น ยังระบุด้วยว่า ประชากรโลกเติบโตในอัตราที่ช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 1950 โดยลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1 ในปี 2020 การคาดการณ์ล่าสุดของยูเอ็นชี้ให้เห็นว่า ประชากรโลกอาจเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8,500 ล้านคนในปี 2030 และ 9,700 ล้านคนในปี 2050 และคาดว่าจะเพิ่มสู่จุดสูงสุดประมาณ 10,400 ล้านคนในช่วงปี 2080 และคงอยู่ที่ระดับนั้นจนถึงปี 2100
แนวโน้มประชากรโลกปี 2022 ยังระบุด้วยว่าภาวะเจริญพันธุ์ได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาในหลายประเทศ ทุกวันนี้ 2 ใน 3 ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในประเทศหรือพื้นที่ที่มีอัตราการเจริญพันธุ์ตลอดชีวิตต่ำกว่า 2.1 คนต่อผู้หญิง 1 คน ซึ่งเป็นระดับโดยประมาณที่จำเป็นสำหรับการเติบโตเป็นศูนย์ในระยะยาวสำหรับประชากรที่มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ
ประชากรจาก 61 ประเทศหรือพื้นที่ คาดว่าจะลดลง 1% หรือมากกว่า ระหว่างปี 2022 - 2050 อันเนื่องมาจากอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำอย่างต่อเนื่องและในบางกรณีเกิดจากอัตราการย้ายถิ่นฐานที่สูงขึ้น
ขณะที่ มากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นที่คาดการณ์ไว้จนถึงปี 2593 จะกระจุกตัวอยู่ใน 8 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก อียิปต์ เอธิโอเปีย อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ประเทศในอนุภูมิภาคทะเลทรายซาฮาราของแอฟริกาคาดว่าจะมีส่วนร่วมมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเพิ่มขึ้นที่คาดการณ์ไว้จนถึงปี 2593
ขณะที่ อายุขัยเฉลี่ยทั่วโลกเมื่อแรกเกิดสูงถึง 72.8 ปี ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเกือบ 9 ปี นับตั้งแต่ปี 2533 การลดลงของอัตราการเสียชีวิตคาดว่าจะส่งผลให้อายุขัยเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 77.2 ปี ในปี 2593
อ่านข่าวอื่นๆ :
3 ก.ค. “วันปลอดถุงพลาสติกสากล” 3 ปี ไทยลดใช้ถุงพลาสติก 1.4 หมื่นล้านใบ
อัปเดตครึ่งปีหลัง! ปฏิทินวันจ่ายเงินเดือน ขรก. เงินบำนาญ เงินเดือนทหาร ออกวันไหน?
วันหยุดเดือนกรกฎาคม 2566 เช็กวันหยุดยาว วันหยุดธนาคาร วันพระ