ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

บทวิเคราะห์ : อิหร่านยกเลิกหน่วยงานตำรวจศีลธรรม

ต่างประเทศ
5 ธ.ค. 65
19:43
477
Logo Thai PBS
บทวิเคราะห์ : อิหร่านยกเลิกหน่วยงานตำรวจศีลธรรม
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
บทบาทของตำรวจศีลธรรมในอิหร่านถูกพูดถึงเป็นวงกว้างอีกครั้ง หลังจากอัยการสูงสุดอิหร่านเปิดเผยว่าหน่วยงานดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ท่ามกลางการประท้วงรุนแรงนานกว่า 2 เดือน กรณีการเสียชีวิตของ มาซาห์ อามินี

แม้อัยการสูงสุดของอิหร่านจะเปิดเผยว่า ตำรวจศีลธรรม นั้นไม่ไสด้มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม แต่ในความคิดเห็นของชาวอิหร่านก็ยังไม่ไว้วางใจต่อการขยับตัวของทางการอิหร่านครั้งนี้ เพราะการยกเลิกหน่วยตำรวจศีลธรรมอาจเป็นการสับขาหลอกก็ได้

ด้วยเหตุผลที่มีการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุของตำรวจศีลธรรม ที่ได้จุดชนวนการประท้วงในหลายพื้นที่ของอิหร่านตลอด 2 เดือนที่ผ่านมา ทำให้หลายพื้นที่ของอิหร่านเผชิญความไม่สงบจากการประท้วงต่อต้านกฎหมายบังคับสวมผ้าคลุมศีรษะอย่างเข้มงวด นับตั้งแต่ มาห์ซา อามินี หญิงชาวเคิร์ด วัย 22 ปี เสียชีวิตหลังจากถูกตำรวจศีลธรรมจับกุมในข้อหาแต่งกายไม่เหมาะสม

กลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องให้มีการคว่ำบาตรกิจกรรมทางเศรษฐกิจและร่วมกันหยุดงานเป็นเวลา 3 วันเพื่อกดดันต่อรัฐบาล

การเสียชีวิตของ มาห์ซา อามินี เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้หลายฝ่ายหันมาทบทวนการทำหน้าที่ของตำรวจศีลธรรมมากขึ้น

โดยที่ตำรวจศีลธรรมก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2005 สมัย ปธน.มาห์มูด อามาดีเนจาด ผู้นำสายอนุรักษ์นิยมภารกิจของตำรวจศีลธรรมในอิหร่านคือ การตรวจสอบการแต่งกายและการสวมผ้าคลุมศีรษะอย่างถูกต้องเหมาะสม พวกเขามีอำนาจตักเตือนหรือจับผู้กระทำผิดส่งไปยังศูนย์ให้คำแนะนำเพื่ออบรมการแต่งกายตามหลักศาสนา

แต่อำนาจของตำรวจศีลธรรมในอิหร่าน จะปรับเปลี่ยนไปตามแนวทางการดำเนินนโยบายของ ปธน.อิหร่านแต่ละคน

การยุบหน่วยงานตำรวจศีลธรรมนั้นยังไม่มีความชัดเจน หลังจากเจ้าหน้าที่ทางการอิหร่านให้ข้อมูลสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง โมฮัมหมัด มอนตาเซรี อัยการสูงสุดอิหร่าน ระบุว่า

หน่วยตำรวจศีลธรรมถูกยุบเพราะไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม

ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ซึ่งทำหน้าที่ในการดูแลหน่วยตำรวจศีลธรรม

ยังไม่ยืนยันว่าจะยุบกองกำลังดังกล่าวหรือไม่

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการเตรียมทบทวนกฎหมายบังคับให้ผู้หญิงทุกคนสวมผ้าคลุมศีรษะและแต่งกายอย่างมิดชิดนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่านออกมาย้ำจุดยืนในการเดินหน้านโยบายบังคับการสวมผ้าคลุมศีรษะอย่างเคร่งครัดต่อไป

การเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้ความรุนแรงในครั้งนี้ ถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติอิสลามเมื่อปี 1979 ข้อมูลจากกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนอิหร่านบ่งชี้ว่า การปราบปรามอย่างรุนแรงทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 470 คน ขณะที่ผู้ประท้วงอีกมากกว่า 18,210 คน ถูกจับกุมในขณะที่เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงเสียชีวิตอย่างน้อย 61 นาย

อ.มาโนชญ์ อารีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกมุสลิม มองผลกระทบจากการประท้วงในครั้งนี้ต่อการตัดสินใจของชนชั้นนำอิหร่านว่า แม้ว่าทางการอิหร่านยังสงวนท่าทีในการเดินหน้าใช้กฎหมายแต่ความเคลื่อนไหวของประชาชนก็สร้างแรงกดดันได้ไม่น้อย

วิเคราะห์โดย : พงศธัช สุขพงษ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง