องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) กำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี เป็น วันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) โดยกำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534
“ผู้สูงอายุ” มีความหมายว่า คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
- ผู้สูงอายุตอนต้น (Young old) คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง
- ผู้สูงอายุวัยกลาง (Middle old) คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง
- ผู้สูงอายุวัยปลาย (Very old)อายุ 80 ปีขึ้นไป ขึ้นไปทั้งชายและหญิง
จำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยได้กำหนดนิยามผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 โดย “ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย
กรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยสถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565 โดยมีประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 จำนวน 12,116,199 คน แบ่งเป็นเพศชาย 5,339,610 คน เพศหญิง 6,776,589 คน
- ระหว่างอายุ 60-69 ปี จำนวน จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
- ระหว่างอายุ 10-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
- ระหว่างอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4%ของผู้สูงอายุทั้งหมด
ทั้งนี้ในประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้สูงอายุ จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เมื่อ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ในสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
"ดอกลำดวน" สัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ
"ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ เนื่องจาก ต้นลำดวน เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน เปรียบเสมือนกับผู้สูงอายุที่เป็นที่พึ่งให้ความร่มเย็นแก่ลูกหลาน
ดอกมีกลิ่นหอม มีกลิ่นหอม กลีบดอกแข็งไม่ร่วงง่าย เปรียบกับผู้ทรงคุณธรรมพร้อมไปด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ และความดีงามเป็นแบบอย่างการประพฤติให้แก่ลูกหลาน อีกทั้งสีเหลือง น้ำตาล สีของดอกลำดวน ให้ความรู้สึกถึงความอบอุ่น และไออุ่นของบุพการีด้วย