ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กรมวิทย์ฯ ยืนยันไทยยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ MU - C.1.2

สังคม
6 ก.ย. 64
12:46
282
Logo Thai PBS
กรมวิทย์ฯ ยืนยันไทยยังไม่พบโควิดสายพันธุ์ MU - C.1.2
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำไทยยังไม่พบ COVID-19 กลายพันธุ์ ทั้ง MU และ C.1.2 ขณะนี้มีเพียง 4 สายพันธุ์ที่ WHO จับตาว่าน่าห่วงกังวล เตรียมปรับการสุ่มตรวจสายพันธุ์ในไทยใหม่ อิงข้อมูลระบาดวิทยา

วันนี้ (6 ก.ย.2564) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการจัดอันดับการกลายพันธุ์ของเชื้อ COVID-19 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการติดตามการกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงกังวล ( VOC) ยังมีแค่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา เดลตา เบตา และแกมมา ยังไม่มีสายพันธุ์อื่นเพิ่ม เนื่องจากอัลฟา แพร่ระบาดได้เร็ว ส่วนเดลตา แพร่เร็วและหลบภูมิคุ้มกัน

ขณะที่สายพันธุ์เบตา และแกมมา พบว่า อาจแพร่เร็วไม่เท่าสายพันธุ์อื่น ๆ แต่พบว่า หลบภูมิและดื้อต่อวัคซีน ซึ่งขณะนี้ส่วนสายพันธุ์ MU (B.1.621) ยังอยู่ในกลุ่มนี้ พบการระบาดมากในประเทศโคลัมเบีย ร้อยละ 40 และพบการกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ คือ E484K ที่มีพบต่อการหลบภูมิ ดังนั้นต้องมีการติดตามใกล้ชิดต่อไป

 

ขณะที่สายพันธุ์ C.1.2 แม้ WHO ยังไม่ได้มีการระบุว่าอยู่ในกลุ่มใด เนื่องจากยังมีข้อมูลน้อย แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในตำแหน่ง E484K ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามต่อไปเช่นกัน และขณะนี้ทั้ง MU และ C.1.2  ยังไม่พบการระบาดในไทย

 

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ในอนาคตเตรียมปรับเปลี่ยนการสุ่มตรวจหาสายพันธุ์ COVID-19 ใหม่  ใน 4 เดือนจากนี้  เพื่อให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เบื้องต้นตรวจ 12,000 ตัวอย่าง  โดยการตรวจจะอ้างอิงตามหลักวิชาทางระบาดวิทยา  คือ เน้นการดักจับและเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ที่จะเข้ามาในไทย ทั้งตามด่านตรวจ หรือแหล่งท่องเที่ยว, การสุ่มตรวจในภาพรวม เพื่อสะท้อนการติดเชื้อและสายพันธุ์ที่ระบาดในไทย   โดยจะร่วมกับมหาวิทยาลัยของรัฐ ทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รามาธิบดี  และมีการรายงานต่อศูนย์ข้อมูลระดับโลก อย่างเช่น   GISAID ทุก 2 สัปดาห์ ซึ่งก็เป็นธรรมดาเมื่อตรวจมากขึ้น มีการรายงานมากขึ้นก็อาจพบสายพันธุ์ไทยได้ในอนาคต 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง กทม.พบโควิดสายพันธุ์ "เดลตา" มากสุด 97.6% 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง