ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คพ.เอาจริงฟาร์มหมูร้อยละ 70 ไม่บำบัดน้ำเสียทิ้งลงคลอง

สังคม
13 พ.ค. 64
13:44
984
Logo Thai PBS
คพ.เอาจริงฟาร์มหมูร้อยละ 70 ไม่บำบัดน้ำเสียทิ้งลงคลอง
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดผลตรวจสอบฟาร์มหมูลุ่มน้ำแม่กลอง จ.ราชบุรี พบฟาร์มขนาดใหญ่ปล่อยน้ำทิ้งไม่ได้มาตรฐาน กว่าร้อยละ 70 กำชับเอาผิดทางกฎหมาย พร้อมลุยตรวจสอบต่อเนื่องทุกแห่ง

วันนี้ (13 พ.ค.2564) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า คพ.ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนจากประชาชนมาอย่างต่อเนื่องเรื่องความเดือดร้อนและผลกระทบเป็นวงกว้างจากปัญหาน้ำเสียจากการเลี้ยงสุกรในพื้นที่จ.ราชบุรี ส่งผลให้ลำคลอง ลำห้วยในพื้นที่รอยต่อลุ่มน้ำแม่กลอง เกิดการเน่าเสีย คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม และประชาชนในพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในปี 2564 คพ.จึงกำหนดแผนตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกรในพื้นที่จ.ราชบุรี เพื่อควบคุมการระบายน้ำทิ้งออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะให้เป็นไปตามกฎหมายว่าสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พื้นที่เป้าหมายครอบคลุมพื้นที่ี่แม่น้ำแม่กลองและคลองประดู่ไหลผ่านจำนวน 5 อำเภอ ได้แก่ ปากท่อ บ้านโป่ง โพธาราม อ.เมืองราชบุรี และดำเนินสะดวก 

นายอรรถพล กล่าวว่า ในช่วงต.ค.63 -มี.ค.64 คพ.ลงพื้นที่ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย และคุณภาพน้ำทิ้ง จากแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทการเลี้ยงสุกรในพื้นที่จ.ราชบุรี 100 แห่ง แบ่งเป็นเข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษการเลี้ยงสุกรประเภท ก (มากกว่า 5,000 ตัว) จำนวน 28 แห่ง ผลการตรวจสอบน้ำทิ้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 20 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 71 ประเภท ข (เทียบเท่าสุกรขุน 500-5,000 ตัว) จำนวน 47 แห่ง

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

 

ผลการตรวจสอบน้ำทิ้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 21 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 46 ส่วนประเภท ค (เทียบเท่าสุกรขุนมากกว่า 50-500 ตัว) จำนวน 25 แห่ง ผลการตรวจสอบน้ำทิ้งไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 8 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33 

จากการตรวจสอบ พบว่าฟาร์มสุกรประเภท ก ซึ่งเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ยังบำบัดน้ำเสียไม่เป็นไปตามมาตรฐาน จะมีน้ำเสียเกิดขึ้นปริมาณมากและมีศักยภาพในการก่อมลพิษสูง

ในส่วนของฟาร์มขนาดกลาง ขนาดเล็ก และรายย่อยที่มีจำนวนมาก ก็มีสัดส่วนการก่อมลพิษสูงเช่นกัน ทั้งนี้ ฟาร์มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คพ.กำลังดำเนินกระบวนการทางกฎหมายเพื่อให้ผู้ประกอบการปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ และคพ.จะลงพื้นที่ตรวจสอบให้ครอบคลุมพื้นที่ ภายในปีนี้ 

 

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

ภาพ : กรมควบคุมมลพิษ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง