ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สะท้อนปม "ทุจริต" ย่ำยีเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ
11 ส.ค. 63
14:16
3,734
Logo Thai PBS
สะท้อนปม "ทุจริต" ย่ำยีเศรษฐกิจ
ไทยพีบีเอส วิเคราะห์ปมเรียกรับผลประโยชน์ ในกระบวนการจัดทำงบประมาณปี 64 แม้จะส่งผลให้เกิดความตื่นตัวที่จะตรวจสอบการคอร์รัปชันของฝ่ายการเมือง แต่หากมองภาพใหญ่ การคอร์รัปชัน คืออุปสรรคด้านเศรษฐกิจ ปิดกั้นการลงทุน และพัฒนาประเทศ

ไทยพีบีเอส ตรวจสอบกรณีนายศักดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ระบุว่าถูกเรียกรับสินบน เพื่อให้งบผ่านประมาณปี 2564 เพราะหากเป็นเรื่องจริง อาจหมายถึงในกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปี ถูกเก็บเบี้ยรายทาง เงินที่ออกมาประเทศไม่ได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วย และบ่งชี้ได้ว่าคงไม่ใช่กรณีแรก

นายมานะ นิมิตรมงคล เลขาธิการองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ที่ผ่านมา รูปแบบการคอร์รัปชัน ถ้าจะเอาคืนหรืออวดบารมี ให้ข้าราชการยอมรับ ก็จะดึงเรื่องหรือแขวนงบประมาณไว้ แล้วให้ข้าราชการเอาของไปกำนัล เช่น พระเครื่อง ไวน์ เนื้อวากิว ไปให้และเรื่องจะผ่าน

ส่วนอีกรูปแบบหนึ่ง คือขอให้มีการจัดสรรงบประมาณ ไปลงพื้นที่การเมือง แต่ครั้งนี้เป็นตัวเงิน ซึ่งร้ายแรงมากที่เคยเห็นมา

เปิด 5 อันดับกระทรวงพบทุจริตมากสุด

ไม่ใช่แค่ในกระบวนการจัดทำงบประมาณ แต่ในหน่วยงานราชการ ก็พบการคอร์รัปชันไม่น้อย งานวิจัยราชการไทยไร้คอร์รัปชัน: การสำรวจความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่รัฐต่อการแจ้งเบาะแสการทุจริต โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) พบเห็นคอร์รัปชันในหน่วยงานตัวเองแค่ไหน โดยพบว่าข้าราชการส่วนกลาง 36 เปอร์เซ็นต์ เคยพบเห็นเรื่องทุจริต ส่วนข้าราชการท้องถิ่น พบเห็น 21.6 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การนำทรัพย์สินไปใช้ส่วนตัว รองๆ ลงมาคือ ออกใบเสร็จเกินราคา เรียกเงินใต้โต๊ะ ฮั้วประมูล ทุจริตเลื่อนตำแหน่ง ปลอมแปลงเอกสาร

หน่วยงานที่พบทุจริตสูงสุด 5 อันดับแรก คือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) 43 เปอร์เซ็นต์ สำนักงานพระพุทธศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน และกระทรวงยุติธรรม อยู่ในอันดับ  

 

การที่ฝ่ายการเมืองมีอิทธิพล และส่งผลต่อเศรษฐกิจมีหลายกรณี เช่น กว่า 10 ปีก่อนกับกรณีการแปลงค่าสัมปทานโทรคมนาคม เป็นภาษีสรรพสามิต ในรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ด้วยการตราพระราชกำหนดแก้ไข ถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ธุรกิจบางกลุ่ม และทำให้รายได้รัฐเสียหาย 66,000 ล้านบาท หรือกรณีการปรับแก้กฎหมายสรรพสามิตใหม่จาก 7 ฉบับเหลือฉบับเดียว เปลี่ยนวิธีการเก็บหน้าโรงงานมาเป็นขายปลีก ทำให้ยอดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้อยลง นี่เป็นบางตัวอย่างที่เป็นข่าวดัง

ยังมีการประเมินด้วยว่าคอร์รัปชัน ส่งผลเสียต่อการขยายตัวทางเศณษฐกิจและความเหลื่อมล้ำในหลายประเทศรวมทั้งไทย ไอเอ็มเอฟ บอกว่าประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงมักเป็นประเทศที่คอร์รัปชั่นต่ำ ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจสูงว่าประเทศคอร์รัปชันสูง ประมาณ 2.8 ถึง 4.5 เปอร์เซ็นต์ รายได้เข้ารัฐที่น้อยลงเพราะคอร์รัปชัน ทำให้การลงทุนรัฐน้อยลง สวัสดิการประชาชนก็แย่ลง

"คอร์รัปชัน"กระทบลงทุน-ความเชื่อมั่นทางศก.

คอร์รัปชัน ก็ยังเป็นปัญหาต่อภาคธุรกิจและการลงทุน นับเป็น 1 ใน 5 อุปสรรคสำคัญของการทำธุรกิจในอาเซียน เพราะทำให้เกิดการกีดกันผู้เล่นรายใหม่ในธุรกิจ จนเกิดผูกขาดตลาด ภาคเอกชนจะไม่มีแรงจูงใจสร้างนวัตกรรมใหม่ นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น และลดความเชื่อมั่นด้านการลงทุน จนส่งผลกระทบโดยตรงจากต่างประเทศให้ลดลง

ที่ผ่านมา จะเห็นความพยายามทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ไม่เห็นด้วยกับการคอร์รัปชัน ในกระบวนการงบประมาณ รัฐธรรมนูญ มีข้อบัญญัติไม่ให้ ส.ส.หรือกรรมาธิการ กระทำการใดๆ ที่มีส่วนทางตรงและทางอ้อม กับการใช้งบประมาณรายจ่ายอยู่แล้ว และมีการตั้งหน่วยงานวิเคราะห์การจัดทำงบประมาณ ที่เรียกว่า พีบีโอ ทำหน้าที่วิเคราะห์ว่าแต่ละโครงการควรใช้งบประมาณอย่างไร เพื่อให้นำไปเปรียบเทียบกับงบที่แต่ละหน่วยงานเสนอขอมา ส่วนใดแตกต่างกันมากก็จะได้ชี้แจงกันไป แต่ที่ผ่านมาการใช้ข้อมูลส่วนนี้ยังไม่เต็มที่นัก

แม้ว่าหน่วยงานรัฐ และเอกชนต่างพยายามแสดงออก ผ่านโครงการและสัญลักษณ์ว่าทั้งหมดปราศจากคอร์รัปชัน และรณรงค์กันทุกปีๆ ละหลายหน แต่สถานการณ์ทุจริตยังปรากฎให้เห็น ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันของไทย 2 ปีล่าสุด คะแนนของไทยก็ยังคงที่ การจัดอันดับยิ่งตัวเลขมากยิ่งแย่ พบว่าอันดับไทยในอาเซียนแย่ลงจาก 5 เป็น 6 ส่วนอันดับของโลกแย่ลงจาก 99 เป็น 101 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ชวน" สั่งติดตาม กมธ.สอบปมเรียกเงิน 5 ล้าน อธิบดีกรมน้ำบาดาล

เปิดบทสนทนา อ้าง ส.ส.เรียกเงิน 5 ล้านบาท จากอธิบดีกรมน้ำบาดาล

ปลัดทส.แจงปม "กรมบาดาล" ถูกเรียกหัวคิวแลกผ่านงบฯ64

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง