Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เตือน! เครื่องดื่มแอกอฮอล์ไม่ฆ่าเชื้อโรค ดื่มมากเสี่ยงติดไวรัสง่าย

สังคม
1 เม.ย. 63
11:52
1,277
Logo Thai PBS
เตือน! เครื่องดื่มแอกอฮอล์ไม่ฆ่าเชื้อโรค ดื่มมากเสี่ยงติดไวรัสง่าย
กรมควบคุมโรค เตือนดื่มเอทิลแอลกอฮอล์หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ผลข้างเคียงอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

วันนี้ (1 เม.ย.2563) จากกรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการส่งต่อข้อมูลคนไทยสาธิตดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อช่วยฆ่าเชื้อในลำคอ และรายงานข่าวในต่างประเทศที่มีประชาชนดื่มแอลกอฮอล์บริสุทธิ์หรือเอทิลแอลกอฮอล์ จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและมีอาการสาหัสจำนวนหลายคน โดนทั้งสองกรณีมีความเชื่อว่าจะช่วยฆ่าเชื้อ COVID–19 ได้ นั้น

กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลนพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า ในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ เช่น เหล้า เบียร์ ซึ่งมีขั้นตอนผลิตมาจากพืชประเภทน้ำตาลและพืชจำพวกแป้ง สามารถรับประทานได้ แต่แอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มอาจเป็นสาเหตุเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ได้

โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีโอกาสรับเชื้อง่ายกว่าคนปกติ เพราะเมื่อดื่มเข้าสู่ร่างกาย แอลกอฮอล์จะเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่

ส่งผลให้ติดเชื้อต่างๆ ได้ง่ายขึ้น รวมถึงการสังสรรค์ในกลุ่มเพื่อนหรือเที่ยวในสถานบันเทิงก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น เพราะหากมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 เมื่อหยิบจับภาชนะร่วมกันก็อาจติดเชื้อได้


ส่วนกรณีรายงานข่าวในต่างประเทศ เป็นการดื่มเอทิลแอลกอฮอล์ หรือเอทานอล (Ethyl Alcohol หรือ Ethanol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% ใช้สำหรับทำความสะอาดฆ่าเชื้อ สามารถนำมา เช็ด ถู หรือฉีดบนร่างกายได้ มีขั้นตอนผลิตมาจากพืชประเภทน้ำตาล และพืชจำพวกแป้งเช่นเดียวกันกับแอลกอฮอล์ที่ผสมในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ไม่สามารถรับประทานเอทานอลล้างแผลได้ เพราะมีขั้นตอนการผลิตและสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

ดื่มแอลกอฮอล์มาก ทำลายเซลล์ในร่างกาย เสี่ยงช็อก

แม้ว่าเอทานอลจะเป็นชนิดของแอลกอฮอล์ที่สามารถบริโภคได้ แต่ด้วยปริมาณความเข้มข้นแบบบริสุทธิ์ซึ่งสูงกว่าที่พบในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วไป ทำให้ผู้ดื่มมีภาวะแอลกอฮอล์เป็นพิษ และในบางคนอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้


ทั้งนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีค่าความเข้มข้นมากที่สุดเพียง 40% เท่านั้น หากดื่มเข้าไปปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายจะเจือจางลง และหากพยายามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จนมีปริมาณแอลกอฮอล์เข้มข้นมากถึง 70% เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ 5% จำนวน 14 ขวด หรือมากกว่า นอกจากไม่ช่วยฆ่าเชื้อแล้ว ยังเป็นการทำลายร่างกายแทน เพราะเซลล์ปกติในร่างกายจะถูกทำลายไปด้วย อาจทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล อาเจียนเป็นเลือด จนเกิดอาการช็อกจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้


การดื่มเอทิลแอลกอฮอล์หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สามารถช่วยฆ่าเชื้อไวรัส COVID- 19 ได้ ควรลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำกับสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์

หลังจากกลับจากข้างนอกถึงบ้าน ก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลังจากไอหรือจาม หลังจากเข้าห้องน้ำ หลังจากสัมผัสกับสัตว์ ปิดปากเวลาไอจามด้วยข้อพับแขนด้านในหรือกระดาษทิชชู่ ทิ้งทิชชู่ที่ใช้แล้วลงถังขยะ และล้างมือทันที หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ที่เป็นไข้และมีอาการไอ จาม กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัวและสวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปที่ชุมชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้