ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"อนุพงษ์" ตอบปมลูกชายเอี่ยวฮั้วประมูลเตาเผาขยะ

การเมือง
26 ก.ค. 62
20:34
1,451
Logo Thai PBS
"อนุพงษ์" ตอบปมลูกชายเอี่ยวฮั้วประมูลเตาเผาขยะ
ฝ่ายค้านซักฟอกหนักปมเตาเผาขยะใน กทม.ราคาแพงกว่า 3 เท่า จี้รัฐบาลตอบห่วงโรดแมปจัดการขยะนำไปสู่คอรัปชันเชิงนโยบาย ด้านพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ขอให้ดูเทคโนโลยี ยืนยันให้ สตง.และป.ป.ช.ตรวจสอบ พร้อมแจงปมลูกชายบินพบผู้ว่าฯภูเก็ตไม่จริง

วันนี้ (26 ก.ค.2562) นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า หลายนโยบายของรัฐบาลไม่สามารถทำได้จริง เช่น เรื่องขยะมูลฝอย เพราะแม้ในรัฐบาลของ คสช. ก็ยังทำไม่ได้ และจะก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของการทุจริตในเชิงนโยบาย

หลายท้องถิ่นมีโครงการในเรื่องการกำจัดขยะมูลฝอย เช่น ในกรุงเทพมหานคร มีโครงการสร้างโรงขยะ ให้เอกชนเข้ามาดำเนินการ แต่ยังมีข้อสงสัยในเรื่องของความโปร่งใส่ของงบประมาณ

 

 

นายประเดิมชัย กล่าวว่า กรุงเทพฯ ตั้งราคากลางในการกำจัดขยะ อยู่ที่ตันละ 900 บาทต่อตัน ขณะที่ในท้องถิ่นอื่น เช่น จ.นครศรีธรรมราช ตั้งราคาอยู่ที่สูงสุดไม่เกิน 613 บาทต่อตัน ต่างกัน 287 บาทต่อตัน ซึ่งเห็นได้ว่ากรุงเทพจะต้องจ่ายมากกว่า จ.นครศรีธรรมราช 104 ล้านบาท ในระยะเวลา 20 ปี วงเงินจะต่างกันกว่า 2,000 ล้านบาท รัฐบาลจะแก้ปัญหานี้อย่างไร

กรุงเทพฯ มีโครงการจะจัดการกับเตาเผา 2 โครงการ ถ้าเลือกใช้ราคาที่ 900 บาท รัฐบาลจะสูญเสียเงินไปกว่า 4,000 ล้านบาท อย่างนี้ รัฐบาลจะเข้าไปตรวจสอบ หามาตรการ ในการประหยัดงบประมาณของกรุงเทพหรือไม่

 

"อนุพงษ์"ยันลูกชายไม่เกี่ยวประมูลเตาเผาขยะ

ต่อมาเวลา 19.30 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวชี้แจงว่าอยากให้กำจัดหมดทุกแห่ง เพราะฝังกลบจะมีปัญหาในอนาคต แต่การที่จะกำจัดขยะ หากสร้างโรงและกำจัดตันละ 1,000 บาท หากนำไปขายเป็นพลังงานไฟฟ้าจะได้ 500 บาท มีพื้นที่ถูก 350 บาทได้ ขึ้นอยู่กับทำในกรุงเทพฯ หรือบึงโขงหลง ตามความเจริญในพื้นที่ ไม่ได้แก้ตัว แต่ต้องตรวจสอบ

การดำเนินการในการสร้างประเทศไทยมีเงินหรือไม่ ผมอยู่มา 5 ปี รัฐบาลไม่มีเงินสร้างโรงกำจัดขยะเลย เพราะ 1 โรง ประมาณ 1,000 ล้านบาท ในอดีตเคยทำก็เจ๊งหมด เพราะราชการทำมันแข็งเกินไปและปรับตัวไม่ได้ เพราะมีปัญหา

พูดว่าให้นายทุนมันไม่ใช่ แนวทางรัฐบาล คือ ให้เอกชนลงทุน ใช้ PPP ส่วนท้องถิ่นนำขยะไปให้ เอาเงินแปะให้ตันละ 900 บาท แต่หาก BOT เช่น อีก 20 ปี จะกลับมาเป็นของรัฐนั้น จะเป็นอีกราคาหนึ่ง ส่วน BOO เขาเป็นเจ้าของหมด ต้องดูว่ากรณีพวกนี้อยู่บนฐานอะไร

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวอีกว่า หากท่านบอกว่าเหมือนกัน คือ BOT ที่วันหนึ่งจะกลับมาเป็นของรัฐ ก็มีตัวที่จะต้องตรวจสอบตามคำอ้าง เช่น กทม.ใช้น้ำไม่เหมือนต่างจังหวัด ต้องซื้อน้ำประปาใช้เงินลงทุนเยอะกว่า ซึ่งทั้งหมด ป.ป.ช. สตง. ต้องตรวจสอบ

 

ส่วนของ กทม.จะรับไปตรวจสอบเอง รวมทั้ง ป.ป.ช. สตง. ต้องตรวจสอบคำอ้างว่าค่าใช้จ่ายแพงกว่า 900 บาท กับ 600 กว่าบาท ต้องดูใส่ในเครื่องจักรต่างกันหรือไม่

หากส่วนนั้นไม่มีเครื่องแยกขยะ แล้วของ กทม.มี ก็ต้องดูต้นทุน และดูว่าอีก 20 ปีได้กำไรเท่าไหร่ หากใกล้เคียงกันก็ยอมรับได้ แต่หากผู้ประกอบการ PPP ได้กำไรเกิน 9-10% ไปมาก น่าจะมีอะไรที่ต้องดำเนินการ

นอกจากนี้พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีที่กล่าวถึงลูกชาย ที่เป็นนักธุรกิจ เคยบอกว่าเขาว่า อะไรที่เกี่ยวกับรัฐก็ไม่ต้องทำเด็ดขาด แต่มีคนพูดว่ามีการวิ่งเต้นกับผู้ว่าฯ ภูเก็ต เรื่องขยะ

ผมบอกเขาว่าจะทำธุรกิจ ห้ามทำกับรัฐ ทำอะไรก็ได้ ไปทำอย่างอื่น คำตอบผมคือไม่มี

ยกตัวอย่างว่า หากท่านสักคนในที่นี้ จะทำขยะอย่างที่รัฐบาลอย่างได้ คือ PPP ท่านก็ต้องไปคุยกับท้องถิ่น หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เอาเป็นว่าลูกผมไปไม่ได้ เหตุการณ์ในวันนั้นทั้งสิ้น ได้พิสูจน์หมดแล้วมีเจ้าหน้าที่ และเอกสารยืนยันหมด ไม่มีเที่ยวบิน ไม่มีการจองโรงแรม ไม่มีภาพจากกล้องซีซีทีวี และเจ้าหน้าที่หน้าห้องผู้ว่าฯ ก็ยืนยันว่าไม่ใช่หน้าอย่างนี้แน่นอน

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง