เข้าสู่เว็บไซต์หลัก

LIVE แถลงสถานการณ์

สธ. แถลงสถานการณ์โควิด-19 (28 มี.ค. 63)

สธ. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ประจำวันที่ 28 มี.ค. 63 ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาลฯ ทำเนียบรัฐบาล โดย นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค และ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค โดยสรุปดังนี้

สถานการณ์แพร่ระบาดทั่วโลก

  • สหรัฐฯ พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มากเป็นอันดับ 1 ของโลก แซงหน้าจีน
  • อิตาลี พบผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 2 ของโลก

สถานการณ์แพร่ระบาดในไทย

  • พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 109 คน
  • ไทยมีผู้ติดเชื้อสะสม 1,245 คน
  • ผู้ป่วยอาการรุนแรงมี 17 คน
  • เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย
  • รวมเสียชีวิตสะสม 6 คน
  • รักษาหายเพิ่ม 3 คน
  • รวมรักษาหายสะสม 100 คน
  • ผู้ป่วยอายุน้อยสุดเฉลี่ย 6 เดือน
  • ผู้ป่วยอายุมากสุดเฉลี่ย 84 ปี
  • อายุเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 40 ปี
  • จำแนกผู้ป่วยได้ 3 กลุ่ม
  • กลุ่มที่ 1 มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องสถานที่เสี่ยง 39 คน แบ่งเป็น
  • สนามมวย 10 คน อยู่ใน กทม.
  • สถานบันเทิง 8 คน พบในต่างจังหวัด
  • สัมผัสกับผู้ป่วย 21 คน
  • กลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่ 17 คน เดินทางมาจากต่างประเทศ แบ่งเป็น
  • คนไทย 6 คน กลับจากสหรัฐฯ อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ญี่ปุ่น
  • ชาวต่างชาติ 2 คน
  • กลุ่มที่อยู่ในที่แออัด ใกล้ชิดชาวต่างชาติ 7 คน เช่น พนักงานโรงแรม นวด สปา ร้านอาหาร
  • กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เพิ่ม 2 คน
  • กลุ่มที่ 3 ผลตรวจพบเชื้อแล้ว รอสอบสวนโรค 53 คน
  • อยู่ในจังหวัด เชียงราย นนทบุรี ปทุมธานี มุกดาหาร และ 3 จังหวัดชายแดนใต้
  • ผู้เสียชีวิตวันนี้ เสียชีวิต 1 คน โดยเป็นหญิงอายุ 55 ปี มีประวัติเป็นเบาหวานและไขมันในเลือดสูง รักษาที่โรงพยาบาล เมื่อ 23 มี.ค. 63 พบมีปอดอักเสบรุนแรงและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

รายละเอียดเพิ่มเติม คำแนะนำ

  • ตัวเลขผู้เสียชีวิตในไทย 6 คน คิดเป็น 0.5% จากยอดผู้ติดเชื้อ ถือว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าหลายประเทศ
  • กลุ่มผู้ที่อายุมากในต่างประเทศ มีอัตราป่วยและเสียชีวิตมากกว่า 10%
  • กลุ่มผู้ที่อายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัว จะมีอัตราป่วยและเสียชีวิตไม่ถึง 1%
  • กลุ่มเสี่ยงสูงคือผู้สูงอายุ หรือ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ ต้องระวังการติดเชื้อ
  • แนะนำให้ปกป้องญาติผู้ใหญ่ ปู่ ย่า ตา ยาย
  • ขอคนในกลุ่มวัยทำงานไม่เดินทางกลับภูมิลำเนา
  • คนที่กลับไปต่างจังหวัดต้องแยกตัว เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อ
  • หากพบอาการป่วยให้รีบพบแพทย์ทันทีและให้ประวัติที่ถูกต้องชัดเจน

เวชภัณฑ์สำหรับเจ้าหน้าที่ บุคลากรทางการแพทย์

  • องค์การเภสัชกรรมจะกระจายเวชภัณฑ์ไปยังสถานพยาบาลตามความเหมาะสม
  • ได้มีการสำรวจและทำการสั่งซื้อไปแล้ว แต่ความต้องการใช้มีในหลายประเทศ ทำให้ต้องใช้เวลาทั้งการสั่งซื้อและจัดส่ง
  • ไม่ได้ห้าม โรงพยาบาลเปิดรับบริจาค แต่ยืนยันว่าไม่ได้ขาดแคลน

กรณีผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัด

  • แนวโน้มต่างจังหวัดจะมีการติดเชื้อมากขึ้น
  • กลุ่มที่ต้องเฝ้าระวัง คือกลุ่มที่เดินทางออกจาก กทม.
  • กลุ่มก้อนผู้ป่วย มักเป็นผู้ใกล้ชิด สัมผัสกับผู้ติดเชื้อเป็นหลัก
  • เนื่องจากผู้ป่วย ผู้สัมผัสใกล้ชิดต่างรู้จักกัน เป็นข้อดีที่ทำให้ทีมแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้เร็ว
  • ผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดพบการเชื่อมโยงกับ สนามมวย สถานบันเทิง
  • ขณะนี้มียาที่ได้ผลดีหลายตัว เช่น ฟาวิพิราเวียร์ โดยมีการกระจายไปทุกจังหวัดแล้ว

Previous Next
Close
Test Caption
Test Description goes like this