Q : ทั่วโลกมีรูปแบบอย่างไร ? ในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19

A :

การรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ (อ้างอิงจากกราฟแผนภูมิเชิงสถิติทั่วโลก)

  1. กลุ่มประเทศที่อยู่ระดับล่างสุดของกราฟ : ทำการปิดประเทศ เพื่อควบคุมการระบาดอย่างจริงจัง เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ที่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติของการแพร่ระบาดของโรค อาจเสี่ยงต่อการเกิด COVID-19 ในประเทศได้อีกครั้ง
  2. กลุ่มประเทศที่อยู่ระดับบนสุดของกราฟ : มีผู้ติดเชื้อมากและมีอัตราการตายมากในช่วงเวลาอันสั้น เช่น อิตาลี สเปน อเมริกา แม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดที่รุนแรง แต่จะไม่ยาวนานและจะมีภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ทำให้ประชาชนในประเทศที่รอดชีวิตจะปลอดภัยจากโรค
  3. กลุ่มประเทศที่อยู่ระดับกลางของกราฟ : อัตราของผู้ติดเชื้อและอัตราการตายมีความคงที่ ไม่มากขึ้นหรือไม่น้อยลง ซึ่งสามารถทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถรับมือกับสถานการณ์ได้ และเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) เมื่อมีประชากร 60 – 70% ของประเทศเป็นผู้ติดเชื้อ เช่น ไทย

ข้อมูลโดย : ศ.พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดี คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์