"สติปัฏฐาน 4" ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ

"สติปัฏฐาน 4" ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ

19 ก.ค. 67

เนื่องในวันอาสาฬหบูชา 2567 ชวนรู้จัก "สติปัฏฐาน 4" ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หากเราขาดสติ "สมาธิ ปัญญา" ย่อมไม่เกิด

สติปัฏฐาน 4 คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง 

  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณากาย รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงกาย
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณาเวทนา มีสติรู้ชัดว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉย ๆ ก็ดี ตามที่เป็นในขณะนั้น
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณาจิต มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ 
  4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ตั้งสติพิจารณาธรรม มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น และดับไปได้อย่างไร 

เมื่อปฏิบัติบ่อย ๆ จนเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เราย่อมมีสติรู้ตัวตลอดเวลา "สมาธิ และ ปัญญา" ก็จะเกิดขึ้นตามมา ชีวิตไม่ตกอยู่ในความประมาท ทำให้สามารถคิดแก้ไขอุปสรรคได้อย่างสำเร็จลุล่วงต่อไป 

"สติปัฏฐาน 4" ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ

19 ก.ค. 67

เนื่องในวันอาสาฬหบูชา 2567 ชวนรู้จัก "สติปัฏฐาน 4" ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ หากเราขาดสติ "สมาธิ ปัญญา" ย่อมไม่เกิด

สติปัฏฐาน 4 คือ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง 

  1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณากาย รู้เห็นตามเป็นจริงว่าเป็นเพียงกาย
  2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณาเวทนา มีสติรู้ชัดว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉย ๆ ก็ดี ตามที่เป็นในขณะนั้น
  3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน 
    ตั้งสติพิจารณาจิต มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่านหรือเป็นสมาธิ 
  4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ตั้งสติพิจารณาธรรม มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น และดับไปได้อย่างไร 

เมื่อปฏิบัติบ่อย ๆ จนเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เราย่อมมีสติรู้ตัวตลอดเวลา "สมาธิ และ ปัญญา" ก็จะเกิดขึ้นตามมา ชีวิตไม่ตกอยู่ในความประมาท ทำให้สามารถคิดแก้ไขอุปสรรคได้อย่างสำเร็จลุล่วงต่อไป